วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การหาเงินทาง Internet


วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การหาเงินด้วย Thai Adsense



Thai adsense คืออะไร Google AdSense คือบริการจาก Google ที่ให้ผู้ที่มีเว็บไซต์ สามารถหารายได้โดยการนำ Code ที่ได้จากการสมัครเป็นสมาชิกของ Google มาใส่ไว้ที่เว็บไซต์ของตนเอง ซึ่ง Code นั้นจะเป็น โฆษณาที่ส่งมาจาก Google โดยโฆษณานั้น ๆ จะเป็นโฆษณาที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับเนื้อหาของเว็บไซต์ของคุณ ตัวอย่างเช่นถ้าเว็บไซต์ของคุณเป็นเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว โฆษณาที่ส่งมาจาก Google ก็อาจเป็นเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับ โรงแรม,สายการบิน เป็นต้นโฆษณาที่ส่งมาจาก Google นั้น ๆ มีทั้งแบบ Text ,รูปภาพ และมีหลายขนาด ให้คุณได้เลือก นอกจากนั้นยังสามารถเลือกรูปแบบสีได้ตามความต้องการ เพื่อความเหมาะสมกับเว็บไซต์ของคุณแล้วโฆษณาต่าง ๆ เหล่านั้นมาจากไหน ??? หลายคงอาจสงสัย โฆษณาต่าง ๆ เหล่านั้นมาจากการทำ Google Adwords ซึ่งเป็นอีกหนึ่งบริการของ Google ที่ให้ผู้ประกอบการต่าง ๆ ที่ต้องการขายสินค้าหรือบริการต่าง ๆ โฆษณาสินค้าของตนเอง ผ่าน Search Engine ของ google รวมถึงเว็บไซต์อื่นๆ ที่นำ Google Adsense ไปติด เพื่อให้โฆษณาของตนเองอยู่ในตำแหน่งที่เด่น (เมื่อ Search ใน Google) กว่าข้อมูลอื่นที่ได้ผลลัพท์จากการค้นหา

สรุปหลักการง่ายๆ : Google AdSense เป็นวิธีหาเงินง่ายๆ ด้วยเว็บไซต์/บล็อก โดยการนำโฆษณาที่ได้จาการสมัคร AdSense มาวางไว้ที่หน้าเว็บไซต์/บล็อกของคุณ เพื่อให้ผู้ชมเข้ามาดูหรือเข้ามาคลิก คุณก็ได้เงินทุกๆ ครั้งที่มีการคลิกโฆษณาหรือแสดงโฆษณานั้น แม้จะไม่มีการซื้อขายใดๆ เกิดขึ้นก็ตาม ยิ่งมีผู้เข้ามามากและคลิกที่โฆษณามาก คุณก็ได้เงินมากตามไปด้วย

หากคุณพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่จะเปลี่ยนอนาคตคุณให้ดีขึ้น โดยที่
1. ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
2. ไม่ต้องเสียเวลาเข้าอบรม
3. ไม่ต้องเสียค่ารถค่าเรือเดินทาง
4. ไม่ใช่การซื้อของ
5. ไม่ใช่การขายของ
6. ทุกขั้นตอนการทำฟรีหมด พร้อมคำแนะนำอย่างละเอียดยิบ ไม่มีกั๊ก ไม่มีหวงความรู้ เผยแพร่จากประสบการณ์ตรง
7. คุณเป็นเจ้าของ 100% (สามารถพัฒนาต่อไปได้เรื่อยๆ ตามความต้องการ)
8. สามารถพิสูจน์เห็นผลได้จริง ฯลฯ

คุณพร้อมกันแล้วหรือยัง ? ถ้าพร้อมแล้วลุยกันเลยย!!!


วันพฤหัสบดีที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2557

วิธีหาเงินง่ายๆจากไทยแอดพอยด์นะครับเพื่อน ๆ


วิธีหาเงินง่ายๆจากไทยแอดพอยด์ครับเพื่อน ๆ
เรามาดูกันนะคะว่าไทยแอดพอยด์มีช่องทางให้เราหาเงินยังงัยกันบ้าง
1.สมัครสมาชิกแล้วยืนยันการมีตัวตนรับเงินก้นถุง 10 บาท
2.ตอบรับข้อเสนอจากผู้ลงโฆษณา (ร่วมกิจกรรม) ด้วยตัวคุณเอง
3.บอกเพื่อน รับเลย 10 บาท/ชื่อ เมื่อเพื่อนๆ ของคุณร่วมกิจกรรม 10 บาทขึ้นไป และรับเพิ่มอีก 5% ของยอดเงินที่เพื่อนๆ ทำได้ในแต่ละเดือน ตลอดไป
4.ทุกครั้งที่คุณร่วมกิจกรรม หรือแนะนำเพื่อน คุณจะได้รับฉลากเพื่อจับรางวัล 100 บาททุกวัน
5.นำโฆษณาของไทยแอดพอยท์ไปติดในเวป/บล๊อกของคุณ ใครคลิ๊กไปร่วมกิจกรรมคุณก็ได้เงิน เหมือนร่วมกิจกรรมเอง
6.แนะนำผู้ลงโฆษณา มาลงโฆษณากับไทยแอดพอยท์รับ 500 บาท/ราย และอีก 10% ของค่าธรรมเนียมทุกเดือนตลอดไป
รู้อย่างนี้แล้วอย่ารอช้ารีบสมัครเป็นสมาชิกและร่วมกิจกรรมกับไทยแอดพอยด์กันเลยนะคะ



หลังจากเข้าหน้าเว็บ thaiadpoint แล้วก็ให้คลิกที่ สมัครสมาชิกใหม่ ฟรี 

กรอกข้อมูล ให้ถูกต้องตามจริง หลังจากสมัครเสร็จเราจะต้องยืนยัน account โดยให้ไปเช็คที่อีเมลที่เราใช้สมัคร (เมลอาจจะไปอยู่ที่ junk mail หรือ spam mail)

วิธีการทำเงินจาก thaiadpoint

1. เมื่อสมัครสมาชิกเสร็จแล้ว login เข้าไปใน thaiadpoint ครับ

2. ไปที่เมนู สะสมแต้ม/เงิน ก็จะมีงานจาก thaiadpoint ให้เราทำมากมาย ซึ่งรายละเอียดแต่ละงานก็อ่านที่หน้าเว็บได้เลยน่ะครับ เพราะเป็นภาษาไทยอยู่แล้ว ในหน้านี้ คุณจะเห็น ข้อเสนอจากผู้ลงโฆษณา เรียงกันอยู่ ถ้าคุณสามารถตอบรับข้อเสนอเหล่านั้นได้ คุณก็จะได้รับเงินตามที่ระบุไว้ในข้อเสนอนั้น เราเรียกมันว่า การร่วมกิจกรรม ครับ ข้อเสนอในหน้านี้ จะมีอยู่ 5 ประเภทด้วยกันคือ
PTC - Paid to CLICK
เป็นโฆษณาย่อย ผู้ลงโฆษณาต้องการแค่ให้คุณคลิ๊ก ง่ายไหมครับ แค่คลิ๊กก็ได้เงิน แม้จะไม่มาก แต่มีเยอะครับ และที่สำคัญคือคลิ๊กได้ทุกวัน (ต้องเว้นไป 24 ชั่วโมงนะครับ) บางคน Login เข้ามาแล้วเห็นเยอะเลย 20-30 ตัว บางคนเห็นแค่ 8-9 ตัว มันขึ้นกับเวลา และงบประมาณต่อวันของผู้ลงโฆษณา ผมแนะนำว่าเข้ามาสักหลัง 14.01 เวลาเมืองไทย จะเป็นช่วงเปลียนวันของเครื่องแม่ข่าย งบประมาณจะออกมาเยอะที่สุดครับ
PPC - Pay per CLICK 
ผู้ลงโฆษณาต้องการให้คุณคลิ๊กเช่นกัน แต่เขาจะจ่ายผลตอบแทนในรูปอัตราผลตอบแทนต่อแต้ม คุณไม่ได้รับเงินจากการคลิ๊กโดยตรง แต่มันจะทำให้อัตราผลตอบแทนต่อแต้มสูงขึ้น ครับ
PPL - Pay per LEAD
ผู้ลงโฆษณาต้องการให้คุณ สมัครสมาชิก, กรอกแบบสอบถาม, ทดลองใช้สินค้า หรือทำอะไรก็ตาม ที่คุณไม่ต้องเสียเงินในการร่วมกิจกรรม ว่าง่ายๆ ฟรี ครับ กลุ่มนี้จะให้ผลตอบแทนสูงกว่า PTC, PPC และเป็นกลุ่มที่สร้างรายได้ให้กับสมาชิกสูงสุด ตัวอย่างเช่น คุณสมัครสมาชิกมาย์เซอร์เวย์ ใช่เวลาแค่ 5 นาที ก็ได้ 24 บาท แล้ว
PPS - Pay per SALE
ผู้ลงโฆษณาต้องการให้คุณซื้อสินค้า/บริการจากเขา มีทั้งซื้อแบบออนไลน์ และ ออฟไลน์ ส่วนใหญ่แล้วเขาจะให้เงินคืนสูงกว่า หรือพอๆ กับเงินที่คุณจ่ายไป ได้ทั้งของ และได้ทั้งเงินครับ ตัวอย่างเช่น คุณซื้อบริการโฮสติ้ง 2250 บาท ได้เงินคืน 2550 กำไรก่อนเลย 300 บาท แล้วยังได้ใช้บริการโฮสติ้งด้วย สรุปแล้วใช้ฟรีครับ
SS - Shadow Shopper
ผู้ลงโฆษณาต้องการให้คุณไปร่วมกิจกรรมกับเขา เช่นไปทานอาหาร ไปดูหนัง หรือทำอะไรก็ตาม แล้วก็นำหลักฐานในการร่วมกิจกรรม มาอ้างสิทธิ์รับค่าตอบแทน จากผู้ลงโฆษณา

ในแถบ สะสมแต้ม/เงิน คุณจะเห็น เมนูย่อยอีก 6 ตัว ดังนี้ 

จากการร่วมกิจกรรม
อธิบายไปแล้วด้านบน นะครับ 
จากการบอกเพื่อน
ไทยแอดพอยท์ โตขึ้นมาจนมีสมาชิก 3.5 แสนรหัส จากแผนธุรกิจ ที่เรียกว่า Viral Marketing หรือ ปากต่อปาก ครับ คุณบอกต่อสิ่งดีๆ ให้กับเพื่อนของคุณ มาสมัครเป็นสมาชิกไทยแอดพอยท์ คุณก็ได้จะรับ โบนัสบอกเพื่อน ตามช่วงเวลา ขณะนี้ (2009-02-08) โบนัสบอกเพื่อน คือ 10 บาท/ชื่อ อ่านรายละเอียด และ ลิงค์ที่ใช้บอกเพื่อน, วิธีที่จะบอกเพื่อน ได้ในหน้านี้ครับ
ฟอร์มอ้างสิทธิ์ขอรับค่าตอบแทน
เป็นสิทธิ์ของคุณครับ ถ้าคุณร่วมกิจกรรมแล้ว คุณไม่ได้รับค่าตอบแทน ก็กรอกฟอร์มนี้ ไทยแอดพอยท์ จะไถ่ถามเอากับผู้ลงโฆษณาให้ครับ
จากการติดหน่วยโฆษณา
สำหรับคนที่มีเวป มีบล๊อก ไม่ว่าจะใช้ของฟรี หรือมีเป็นของตัวเอง คุณก็สามารถสร้างหน่วยโฆษณา ไปติดในเวปได้ ถ้ามีคนคลิ๊กไปร่วมกิจกรรม จากหน่วยโฆษณาของคุณ คุณก็จะได้รับค่าตอบแทนเหมือนร่วมกิจกรรมเองครับ หน่วยโฆษณาแบบนี้ จะสลับสับเปลี่ยนโฆษณา ไปแสดงให้คุณเอง
จากการติดป้ายแบบเจาะจงผู้ลงโฆษณา
คล้ายกับหน่วยโฆษณา แต่คุณระบุเจาะจงว่าต้องการแสดงโฆษณาตัวไหน เหมาะสำหรับคนที่ทำตลาดให้กับข้อเสนอตัวใดตัวหนึ่งเป็นพิเศษ 
U-PORTAL
แทนที่คุณจะส่งลิงค์กิจกรรมให้เพื่อนทีละลิงค์ เครื่องมือตัวนี้ ให้คุณส่งให้เพื่อนได้ทั้งหมด เหมือนส่งหน้าสะสมแต้ม/เงินให้เพื่อน อีกทั้งหากคุณเป็นสมาชิกแบบ หุ้นส่วนธุรกิจ คุณสามารถเลือกรับ SUBID เพื่อที่จะทราบได้ว่าเพื่อนคนไหนร่วมกิจกรรมให้คุณบ้าง หรือจะแบ่งรายได้ของคุณให้เพื่อนๆ ก็ยังได้
.YOUR LUCKY DAY - วันโชคดีของคุณ
ทุกครั้งที่คุณร่วมกิจกรรม หรือแนะนำเพื่อน คุณจะได้รับฉลากเพื่อให้ระบบสุ่มเลือกแจกเงิน 100 บาท ให้คุณทุกๆ วัน.

3. กดที่เมนู บัญชีสมาชิก เพื่อดูรายละเอียด และเงินที่ได้จาก thaiadpoint แต่ผมชี้แจ้งอย่างนี้นะครับ อย่าง PTC ไทยแอดพอยท์ดูแลเอง มันก็สามารถขึ้นแสดงยอดได้ทันที แต่ข้อเสนอแบบอื่นๆ คุณต้องรอผู้ลงโฆษณาส่งรายการกลับมา บางรายก็จะส่งหลังจากเกิดการร่วมกิจกรรมแล้ว 48 ชั่วโมง บางรายส่งเดือนละครั้ง ดังนั้นยอดเงินมันจะไม่ได้แสดงทันทีนะครับ แต่จะคิดเงินให้ทุกเดือนในวันที่ 25

เท่านี้ก็สามารถทำเงินจาก thaiadpoint ได้แล้วครับ

วิธีทำธุรกิจเครือข่าย



อยากรวยด้วยธุรกิจเครือข่ายออนไลน์ "คลิ๊กเลย"
วิธีทำธุรกิจเครือข่ายให้รวย วิธีที่ 11 (เร็วๆนี้)

หารายได้เสริม


วิธีที่ 1: หารายได้เสริมด้วยการใช้บัตรเครดิต
วิธีที่ 2: หารายได้เสริมจากการลงทุนในหุ้น
วิธีที่ 3: หารายได้เสริมด้วยธุรกิจเครือข่ายออนไลน์
วิธีที่ 4: หารายได้เสริมด้วย Facebook
วิธีที่ 5: หารายได้เสริมด้วย Forex Trading
วิธีที่ 6: หารายได้เสริมด้วยการทำบล็อก
วิธีที่ 7: หารายได้เสริมด้วยธุรกิจร้านค้าออนไลน์
วิธีที่ 8: หารายได้เสริมด้วยด้วยการคลิ๊กดูโฆษณา
วิธีที่ 9: หารายได้เสริมด้วย Call Center นอกสถานที่
วิธีที่ 10: หารายได้เสริมจากธุรกิจรับเลี้ยงสุนัข
วิธีที่ 11: หารายได้เสริมด้วยการสอนพิเศษ
วิธีที่ 12: หารายได้เสริมด้วยการขายสินค้าใน Ebay
วิธีที่ 13: หารายได้เสริมจากอสังหาริมทรัพย์
วิธีที่ 14: หารายได้เสริมจาก Youtube
วิธีที่ 15: หารายได้เสริมจากการทำ Affiliate Marketing
วิธีที่ 16: หารายได้เสริมตามตลาดนัด
วิธีที่ 17: หารายได้เสริมด้วยรถยนต์
วิธีที่ 18: เร็วๆนี้

วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2554

การผลิตปุ๋ยอินทรีย์……ไส้เดือนดิน

การผลิตปุ๋ยอินทรีย์……ไส้เดือนดิน

Posted by: อลิสรา คูประสิทธิ์ (Alissara Kuprasit) in ห้องเรียนวิทยาศาสตร์, เกษตรน่ารู้, เทคโนโลยีสำหรับชนบท ไส้เดือนดิน จัดอยู่ในอาณาจักรสัตว์ (Animalia) ศักดิ์แอนนิลิดา (Phylum: Annelida) ชั้น (Class: Oligochaeta ) ตระกูล (Order: Opisthopora) โดยมีการจำแนกวงศ์ (Family)ไว้ 21 วงศ์ และทั่วโลกมีมากกว่า 4,000 ชนิด สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อไส้เดือนดินได้แก่ ความชื้นของดินหรืออาหารที่ไส้เดือนอยู่ประมาณ 60-80%, อุณหภูมิประมาณ 15-28 องศาเซลเซียส และมีความเป็นกรด-ด่างเป็นกลาง
1. วงจรชีวิตของไส้เดือนดิน
ไส้เดือนดินเป็นสัตว์ที่มี 2 เพศในตัวเดียวกัน แต่การสืบพันธุ์เป็นแบบผสมข้าม (จับคู่ผสม) กับไส้เดือนดินตัวอื่น วงจรชีวิตของไส้เดือนดินจึงประกอบด้วย ระยะถุงไข่ ระยะตัวอ่อน และระยะตัวเต็มวัย
2. บทบาทของไส้เดือนดิน
ไส้เดือนดินส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่มีประโยชน์ต่อดินและพืช แต่ก็มีบางกลุ่มที่เป็นโทษ
2.1 ด้านที่เป็นประโยชน์
  • ช่วยในการปรับปรุงดินและสภาพแวดล้อม ทำให้ดินร่วนซุย
  • ช่วยกระจายเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์และส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช
  • ช่วยกำจัดขยะอินทรีย์และวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร
  • เป็นแหล่งโปรตีนของอาหารสัตว์
  • เป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของดินและสารพิษที่ปนเปื้อนในดิน
2.2 ด้านที่เป็นโทษ
  • เป็นตัวนำพาเชื้อโรคพืชมาสู่พืช
  • เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดปรสิตสู่พืช
  • บางชนิดมีผลทำให้ดินจับตัวเป็นก้อนจนไม่สามารถปลูกพืชได้ เนื่องจากมีสารเคลือบอยู่ที่ก้อนดิน 
3. การผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากไส้เดือนดิน
ปัจจุบันไส้เดือนดินทั่วโลกที่นำมาใช้ในการกำจัดขยะอินทรีย์หรือวัสดุ เหลือทิ้งทางการเกษตรในรูปแบบของการค้า เช่น จำหน่ายพันธุ์ และมูลไส้เดือนเพื่อใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ เป็นต้น มีประมาณ 15 สายพันธุ์เท่านั้น ส่วนในประเทศไทยมีการนำมาวิจัยประมาณ 8 สายพันธุ์ แต่ที่มีการส่งเสริมจนเป็นการค้ามีประมาณ 3 สายพันธุ์คือ ไทเกอร์วอร์มหรืออายซิเนีย ฟูทิดา (Eisenia foetida),  อัฟริกัน ไนท์ ครอเลอร์หรือยูดริลลัส ยูจินิแอ (Eudrillus eugeniae) และ ขี้ตาแร่หรือฟีเรททิมา พีกัวนา (Pheretima peguana)
3.1 รูปแบบของการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากไส้เดือนดินในประเทศไทย
  • การเลี้ยงไส้เดือนดินในตระกร้าหรือกระบะวางซ้อนกันเป็นชั้นๆ
  • การเลี้ยงไส้เดือนดินในชั้นพลาสติก
  • การเลี้ยงไส้เดือนดินในวงบ่อซีเมนต์
  • การเลี้ยงไส้เดือนดินในซองซีเมนต์หรือซองบล็อกประสาน
ควรวางระบบระบายน้ำปุ๋ยหรือรองรับน้ำปุ๋ยที่มาพร้อมกับมูลไส้เดือนดิน เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำปุ๋ยขัง เพราะอาจทำให้ไส้เดือนดินขาดอากาศและตายได้
3.2 อาหารสำหรับไส้เดือนดิน
  • ขยะอินทรีย์จากครัวเรือนหรือตลาด
  • มูลสัตว์
  • เศษตอซังพืชจากภาคการเกษตร
4. ปัญหาและอุปสรรคของการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากไส้เดือนดิน
4.1 การเก็บมูลไส้เดือนมักติดถุงไข่และตัวอ่อนเป็นจำนวนมาก ทำให้มีจำนวนไส้เดือนลดลง ประสิทธิภาพในการผลิตมูลไส้เดือนลดลงด้วยเช่นกัน
 4.2 สิ้นเปลืองพลังงานและต้นทุนเพิ่มขึ้นจากการต้องใช้เครื่องมือหรือเครื่อง จักรมาแยกไส้เดือนดินออกจากมูล เช่น การใช้แสงไฟไล่ หรือเครื่องคัดแยกตัวไส้เดือนดิน
4.3 ไม่ควรใช้เศษพืช อาหาร และมูลสัตว์ ที่มีความเป็นกรด-ด่างสูง หรือเศษอาหารที่มีน้ำมันปนอยู่ เพราะเป็นอันตรายต่อไส้เดือนดิน
4.4 สัตว์ที่เป็นอันตรายต่อไส้เดือนดิน เช่น ไก่ นก หนู และมด เนื่องจากเศษพืชผักเป็นอาหารของสัตว์เหล่านี้ รวมทั้งไส้เดือนดินด้วย
5. เทคนิคการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากไส้เดือนดินโดยตั้งกองแบบปริซึมสามเหลี่ยม
ปัญหาสำคัญของผู้เลี้ยงไส้เดือนดินสำหรับผลิตปุ๋ยอินทรีย์คือการเก็บมูล ไส้เดือน เพราะถ้าเก็บไม่ถูกวิธีก็จะติดทั้งตัวอ่อนและถุงไข่ของไส้เดือน ทำให้มีปริมาณของไส้เดือนลดลง จึงไม่มีไส้เดือนดินสำหรับผลิตปุ๋ยหรือจำหน่ายพันธุ์ในระยะยาวได้ ดังนั้นสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ได้พัฒนาการเลี้ยงไส้เดือนดินกองรูปปริซึมสามเหลี่ยมและให้อาหารด้านเดียว         
การทำฐานที่อยู่อาศัย
ผสมดินกับมูลสัตว์ในอัตราส่วน 4:1 และปรับความชื้นประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ แล้วเกลี่ยให้มีความสูงประมาณ 5-10 เซนติเมตร ควรทำซองหรือคอกสำหรับกั้นสัตว์เลี้ยงมาคุ้ยเขี่ยและตาข่ายคลุมเพื่อกันนก หรือหนู
จำนวนไส้เดือนดิน
ประมาณ 1 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร
การเพิ่มประชากรไส้เดือนดิน
เติมอาหาร เช่น มูลสัตว์ผสมกับเศษผักหรือผลไม้ โดยมีความหนาครั้งละไม่เกิน10 เซนติเมตร เมื่ออาหารหมดให้เติมอาหารใหม่ จนกระทั่งมีความสูงประมาณ 45 เซนติเมตร
การตั้งกองรูปปริซึมสามเหลี่ยม
แต่งกองไส้เดือนใหม่ให้เป็นรูปคล้ายกับปริซึมสามเหลี่ยม ฐานกว้างและสูงประมาณ 45 เซนติเมตร
การให้อาหาร
หลังจากนั้นนำอาหารมาใส่เพียงหน้าเพียงด้านเดียวของกองแบบปริซึมสาม เหลี่ยมให้มีความหนาประมาณ 5-10 เซนติเมตร เมื่ออาหารหมดก็ทยอยเติมด้านเดียวไปเรื่อยๆ
การเก็บมูลไส้เดือน
ส่วนอีกด้านของกองอาหารที่ไส้เดือนกินหมดแล้ว ปล่อยให้ความชื้นลดลงจนไม่มีไส้เดือนอาศัยอยู่ จึงปาดมูลของไส้เดือนดินออกมาเป็นปุ๋ยอินทรีย์
สนใจติดต่อ
สถานีวิจัยลำตะคอง
333 หมู่ที่ 12 ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 30130
โทรศัพท์ 044-390107 และ 044-390150 แฟกซ์ 044-390107
E-mail: lamtakhong@tistr.or.th

เลี้ยงไส้เดือนดินผลิตปุ๋ย ขจัดขยะ

เลี้ยงไส้เดือนดินผลิตปุ๋ย ขจัดขยะ ผลงานเยี่ยม ของ ดร.อานัฐ ตันโซ แม่โจ้
ไส้เดือน ตามพจนานุกรมของมติชนระบุไว้ว่า เป็นชื่อของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหลายชนิด บางชนิดลำตัวมีปล้อง บางชนิดไม่มี เช่น ไส้เดือนดิน ลำตัวเป็นปล้องมักมีชุกชุมตามดินชื้นร่วนซุย ตามใต้กองขยะมูลฝอย ไส้เดือนฝอยรากปน ลำตัวเป็นริ้วไม่เป็นปล้อง เป็นปรสิตตามรากผัก ถั่ว และต้นไม้

ประโยชน์ของไส้เดือนดิน ไม่เพียงช่วยปรับปรุงคุณสมบัติของดินให้ดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังสามารถนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ อาทิ ปลา นก เป็ด และไก่ ฯลฯ ได้อีกด้วย

อาหารของไส้เดือนดินนั้น จะไม่กินของมีชีวิต แต่เข้าย่อยสารอินทรีย์ที่เริ่มเน่าเปื่อย โดยเฉพาะสารอินทรีย์ที่มีปริมาณไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบอยู่สูง เช่น ในขยะอินทรีย์หรือเศษอาหารจากตลาดหรือจากชุมชน

มิแปลกที่พบเห็นไส้เดือนดินจำนวนมากในบริเวณใต้กองปุ๋ยหมัก กองเศษพืช และกองปุ๋ยคอก ที่กำลังเน่า ซึ่งช่วยให้ดินมีการปรับปรุงอย่างถาวร และเป็นเกษตรอินทรีย์อีกรูปแบบหนึ่ง

ในต่างประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาได้นำไส้เดือนดินมาศึกษาอย่างจริงจัง ทั้งนี้ เพื่อช่วยกำจัดขยะ และสร้างปุ๋ยบำรุงดิน

เมื่อ ปี 2541 ดร.อานัฐ ตันโซ แห่งภาควิชาทรัพยากรดินและสิ่งแวดล้อม คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เล็งเห็นประโยชน์ของไส้เดือนดิน จึงได้ทำการศึกษาวิจัย โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เครือข่ายภาคเหนือ ซึ่งปรากฏว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก กล่าวคือ ไส้เดือนดินสามารถกำจัดขยะได้อย่างเร็วรวด และยังถ่ายมูลเป็นปุ๋ยที่มีคุณภาพอีกด้วย

"เมื่อ ปี 2540 เกิดปัญหาขยะที่จังหวัดเชียงใหม่มีจำนวนมาก ทำให้เกิดแนวความคิดและความรู้ที่เคยศึกษามาว่า ทำอย่างไร ถึงจะกำจัดขยะได้ โดยไม่ต้องใช้งบประมาณมหาศาลสร้างเตาเผาขยะ รวมถึงไม่เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมด้วย จึงได้ศึกษาเรื่องไส้เดือนดินขึ้นมา ซึ่งในต่างประเทศอย่างเช่น อเมริกา เบลเยียม และออสเตรเลีย เป็นต้น ทำมานานแล้ว และได้ผลเป็นอย่างดี แต่ในเมืองไทยเพิ่งเริ่มและเป็นเรื่องยากในการของบประมาณเพื่อทำให้โครงการลุล่วงไปอย่างสมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม ในระยะหลังหลายๆ ฝ่ายให้ความสนใจและสนับสนุนค่อนข้างดีแล้ว" ดร.อานัฐ กล่าว

งานศึกษาวิจัยดังกล่าวของ ดร.อานัฐ ช่วงแรกนำสายพันธุ์ไส้เดือนดินจากต่างประเทศมาทดลองเลี้ยง ปรากฏว่า ได้ผลดีมาก กล่าวคือ เลี้ยงไส้เดือนดิน 1 กิโลกรัม ภายใน 24 ชั่วโมง สามารถกำจัดเศษผักหรือขยะ1 กิโลกรัม เลยทีเดียว

อย่างไรก็ตาม ดร.อานัฐ ไม่สามารถขยายผลสู่ผู้ที่สนใจได้ ด้วยเหตุผลสองประการคือ ราคาซื้อขายไส้เดือนพันธุ์ต่างประเทศแพง และที่สำคัญอาจจะทำให้ระบบนิเวศวิทยาหรือสายพันธุ์ไส้เดือนพื้นเมืองเปลี่ยนแปลงไปได้

"ห้องเลี้ยงไส้เดือนดินพันธุ์ต่างประเทศนั้น ผมจะกั้นผนังทั้งสี่ด้าน และล็อกประตูเข้าออกด้วย เพราะว่ากลัวมีใครเข้าไปขโมย ซึ่งจริงๆ แล้วผมไม่ได้เสียดายพันธุ์ แต่กลัวหลุดออกไปสู่ธรรมชาติ เดี๋ยวมันสร้างความเสียหายเหมือนกับหอยเชอรี่ หรือผักตบชวา เป็นต้น" ดร.อานัฐ กล่าว

ระยะหลัง ดร.อานัฐ แก้ปัญหาดังกล่าวโดยเสาะหาไส้เดือนดินสายพันธุ์ไทยจากทุกภาคมาศึกษาการเพาะขยายพันธุ์และคัดเลือกพันธุ์ เพื่อให้ได้สายพันธุ์ที่กินอาหารเก่งและทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดี ปรากฏว่าไส้เดือนดินของไทยที่ดีที่สุด ตอนนี้อยู่ข้างๆ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ชื่อ "คิตะแร่"

"เมื่อเปรียบเทียบพันธุ์ไทย หรือ คิตะแร่ กับพันธุ์ต่างประเทศนั้น ของเราสู้เขาไม่ได้เลย คือกินอาหารน้อยกว่าเกือบเท่าตัวทีเดียว อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ผมกำลังทำโครงการปรับปรุงพันธุ์ไส้เดือนไทย เพื่อคัดพันธุ์ที่กินอาหารเก่งๆ เหมือนกับต่างประเทศ หากได้สายพันธุ์ที่ดีแล้ว ต่อไปจะขยายพันธุ์ให้เกษตรกรหรือผู้สนใจทั่วไป เพื่อช่วยกันผลิตปุ๋ยราคาถูกและช่วยกำจัดขยะอีกทางหนึ่งด้วย" ดร.อานัฐ กล่าว



ลักษณะของไส้เดือนดิน

ไส้เดือนดิน จัดอยู่ในไฟลั่มแอนเนลิดา (Phylum Annelida) ชั้นซีโตโพดา (Class Chaetopoda) ตระกูลโอลิโกซีตา (Order Oligochaeta) วงศ์แลมบริซิลี (Family Lambricidae) ไส้เดือนดินชนิดต่างๆ เท่าที่รู้จักกันมีประมาณ 1,800 ชนิด ไส้เดือนดินที่พบมากในแถบยุโรปและอเมริกาเป็นไส้เดือนดิน ชนิด Lumbricus terrestris ส่วนไส้เดือนดินที่พบมากในประเทศไทยและแถบเอเชียอาคเนย์ ได้แก่ Pheretima peguana และ Pheretima posthum

ลักษณะภายนอกของไส้เดือนดินจะเป็นปล้องตั้งแต่หัวจนถึงส่วนท้ายของร่างกาย มีรูปร่างทรงกระบอกยาว หัวท้ายเรียวแหลม ยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร เมื่อโตเต็มที่จะมี 120 ปล้อง มีช่องระหว่างปล้องคั่นแต่ละปล้องไว้ แต่ละปล้องมีเดือยเล็กๆ เรียงอยู่ประมาณ 56 อัน ไม่มีส่วนหัวที่ชัดเจน ไม่มีตา ไม่มีหนวดเหมือนในตัวแม่เพรียง แต่มีไคลเตลลัม เมื่อถึงระยะสืบพันธุ์ไคลเตลลัมจะเห็นได้ชัดเจนอยู่ตรงปล้องที่ 14-16 บนร่างกายมีส่วนต่างๆ ดังนี้

- โพรสโตเมียม มีลักษณะเป็นเนื้อยืดหดได้อยู่บริเวณหน้าสุดของไส้เดือนดิน ยังไม่ถือเป็นปล้อง ทำหน้าที่คล้ายริมฝีปากเท่านั้น

- เพอริสโตเมียม ส่วนนี้นับเป็นปล้องแรกของไส้เดือนดิน อยู่ถัดจากโพรสโตเมียม มีลักษณะเป็นแผ่นเนื้ออยู่ล้อมรอบปากและยืดหดได้

- ปากอยู่ใต้โพรสโตเมียม เป็นช่องทางผ่านเข้าของอาหารเข้าสู่ร่างกาย

- เดือย มีลักษณะเป็นแท่งแข็งคล้ายขนสั้นๆ ช่วยในการเคลื่อนที่และขุดรู

- รูกลางหลัง อยู่ตรงร่องระหว่างปล้องที่ 12/13 เมื่อถูกรบกวนของเหลวในช่องตัวจะถูกปล่อยออกมาทำให้ชุ่มชื้น

- รูขับถ่าย ในแต่ปล้องจะมี 1 คู่ ยกเว้นสามปล้องแรกจะไม่มี ซึ่งทำหน้าที่เป็นทางออกของเสียจากร่างกาย

- รูตัวผู้ เป็นรูสำหรับปล่อยสเปิร์ม มีอยู่ 1 คู่ อยู่ตรงด้านท้องของปล้องที่ 18 ซึ่งมีลักษณะเป็นตุ่มเล็กๆ สำหรับยึดติดกันระหว่างผสมพันธุ์

- รูตัวเมีย เป็นรูออกไข่ มีอยู่เพียงรูเดียว อยู่กลางลำตัวด้านท้อง ปล้องที่ 14

- รูสเปิร์มมาติกา เป็นรูรับสเปิร์มจากไส้เดือนดินอีกตัวหนึ่ง ขณะมีการผสมพันธุ์แลกเปลี่ยนสเปิร์มซึ่งกันและกัน มีอยู่ 3 คู่ ตรงร่องระหว่างปล้องที่ 6/7,7/8 และ 8/9

- ทวารหนัก เป็นรูค่อนข้างแคบ เปิดออกในปล้องสุดท้าย

ดร.อานัฐ ให้ความรู้เพิ่มเติมว่า ไส้เดือนดินมีเพศเป็นกะเทย มีทั้งรังไข่และอัณฑะอยู่ในตัวเดียวกัน แต่ไม่ผสมในตัวเอง เนื่องจากตำแหน่งของอวัยวะสืบพันธุ์ทั้งสองเพศไม่สัมพันธ์กัน และมีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ไม่พร้อมกัน ไส้เดือนดินทั้งสองตัวจึงต้องมีการแลกเปลี่ยนสเปิร์มซึ่งกันและกัน และเกิดการปฏิสนธิแบบข้ามตัว

"การผสมพันธุ์เริ่มด้วยไส้เดือนดินสองตัวจับคู่กลับหัวกลับหางเอาท้องประกบกัน โดยให้รูตัวผู้ของตัวหนึ่งไปตรงกับรูสเปิร์มมาติกาช่องใดช่องหนึ่งของไส้เดือนดินอีกตัวหนึ่ง จากนั้นแต่ละฝ่ายก็จะปล่อยสเปิร์มเข้าไปเก็บไว้ในถุงสเปิร์มมาติกาของอีกตัวหนึ่ง เสร็จแล้วจึงแยกออกจากกัน ลักษณะเช่นนี้จึงเป็นการผสมข้ามตัวต่อมาเมื่อไข่สุก ไคลเตลลัม จะเริ่มสร้างถุงไข่ขึ้น ถุงไข่เกิดขึ้นจากไคลเตลลัม ปล่อยน้ำเมือกออกมานอกร่างกาย เมื่อถูกกับอากาศจะแห้งกลายเป็นถุงไข่ที่สุกแล้วจะออกจากรูออกไข่ตรงปล้องที่ 14 เข้าไปอยู่ในถุงไข่ที่สร้างเสร็จแล้ว จากนั้นถุงไข่จะค่อยๆ เลื่อนออกมาทางส่วนหัวและรับสเปิร์มมาติกา ตรงปล้องที่ 9,8 และ 7 มาผสมกับไข่ในถุงไข่ ต่อมาถุงไข่จะไปข้างหน้าจนหลุดออกจากหัว แล้วผนึกติดกันกลายเป็นถุงตกอยู่บนพื้นดิน และเจริญเติบโตเป็นไส้เดือนดินต่อไป โดยไม่มีระยะตัวอ่อนเลย"



เตรียมโรงเรือนผลิตปุ๋ยหมักจากมูลไส้เดือนดิน

ในการสร้างโรงเรือนเพื่อผลิตปุ๋ยหมักจากมูลไส้เดือนดินนั้น ดร.อานัฐ บอกว่า สามารถออกแบบได้ตามสะดวกของพื้นที่และงบประมาณ แต่ต้องมีการพรางแสง เนื่องจากไส้เดือนดินไม่ชอบแสงสว่างมากนัก ในบริเวณบ่อเลี้ยงต้องมีตาข่ายปิดด้านบนด้วย เพื่อป้องกันศัตรูของไส้เดือน เช่น หนู นก และมด นอกจากนี้ ด้านล่างของบ่อควรมีท่อ เพื่อรองรับน้ำหมักที่ได้จากการย่อยสลายขยะของไส้เดือน

"ตามปกติไส้เดือนดินเป็นสัตว์รักสงบชอบอยู่ในธรรมชาติ การที่จะนำไส้เดือนมาเลี้ยงเพื่อกำจัดขยะอินทรีย์ รวมถึงกำจัดวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร จึงเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ ถ้ารู้จักดัดแปลงสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเจริญของไส้เดือนดิน ซึ่งภาชนะที่นำมาเลี้ยงไส้เดือนนั้น จะมีทั้งที่เป็นบ่อดินถัง กระถาง กล่อง ถุง หรือ ถังขยะ ร่องน้ำ กระบะ หรือวัสดุอีกหลายๆ ชนิดก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสะดวก"

ดร.อานัฐ บอกว่า สมมุติว่าต้องการกำจัดขยะสดจากชุมชนที่มีอัตรา 5 ตัน ต่อวัน เราต้องเตรียมพื้นที่บ่อหมักประมาณ 100 ตารางเมตร (โดยคิดค่าความหนาแน่นของขยะสด เท่ากับ 0.5 ตัน ต่อลูกบาศก์เมตร)ความสูงของกระบะควรอยู่ตั้งแต่ 0.8-1.0 เมตร เพื่อให้ปฏิบัติงานได้ง่าย โดยมีความกว้าง ประมาณ 1 เมตร และความยาวที่ไม่จำกัด

"ขยะสดจะมีน้ำเป็นองค์ประกอบไม่น้อยกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น ในขณะที่หมักและการสลายขยะอินทรีย์โดยไส้เดือนดิน จะมีของเหลวหรือน้ำหมักจากมูลไส้เดือนไหลออกมาจากกองขยะจำนวนมาก การสร้างบ่อรวบรวมน้ำหมักจากมูลไส้เดือนดินจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก จะทำให้น้ำหมักไม่แช่ขังอยู่ในโรงผลิตปุ๋ยหมัก ซึ่งทำให้ไส้เดือนจะหนีขึ้นมาอยู่เหนือน้ำ เนื่องจากหายใจไม่ออก ซึ่งน้ำหมักเหล่านี้มีแร่ธาตุอาหารและปริมาณจุลินทรีย์อยู่เป็นจำนวนมาก โดยทั่วไปการหมักที่สมบูรณ์จะทำให้น้ำหมักที่ได้ไม่มีกลิ่นเหม็น และสามารถนำไปใช้ในการผลิตพืชได้อย่างสมบูรณ์" ดร.อานัฐ กล่าว



เตรียมวัสดุรองพื้น เพื่อเป็นที่อาศัยของไส้เดือนดิน

โดยทั่วไปมักจะใช้วัสดุอินทรีย์สดๆ เป็นวัสดุรองพื้นหนาประมาณ 6 นิ้ว โดยเน้นส่วนที่เป็นผักสีเขียว วัชพืช ขยะสด โดยจะใช้ปุ๋ยคอก โรยบนหน้าให้หนาประมาณ 2 นิ้ว โรยปูนขาวให้ทั่วบริเวณ แล้วจึงให้ความชื้นเล็กน้อย ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักขยะสดหรือให้เปียกชุ่ม แต่ไม่ให้มีน้ำแช่ขังทิ้งไว้ ประมาณ 2-3 วัน จะพบว่าเกิดกระบวนการหมัก สังเกตได้โดยมีความร้อนที่สูงขึ้น ทิ้งไว้ประมาณ 4-6 สัปดาห์ ความร้อนที่เกิดขึ้นจะหายไปหรืออาจเร็วกว่านี้

"การสร้างกองหมักที่หนาเกินไป จะทำให้ระยะเวลาในการหมักนานออกไปเนื่องจากจะเป็นการหมัก โดยกระบวนการที่ไม่ใช้ออกซิเจน ซึ่งมีผลทำให้ยังไม่พร้อมที่จะเป็นที่อยู่อาศัยของไส้เดือนดิน"

ดังนั้น การเตรียมที่อยู่สำหรับไส้เดือนก่อนเริ่มกระบวนการผลิตปุ๋ยหมักจากมูลสัตว์ชนิดนี้ จึงเป็นสิ่งสำคัญและต้องเตรียมการอย่างระมัดระวัง



เลี้ยงไส้เดือนดิน

ดร.อานัฐ กล่าวว่า ปริมาณเริ่มต้นเลี้ยงไส้เดือนดินที่ควรใช้เพื่อเชื่อมกระบวนการกำจัดขยะอินทรีย์ โดยไส้เดือนดินควรเป็นเท่าไร เป็นคำถามยอดฮิตที่ผู้สนใจเทคนิควิธีการกำจัดขยะด้วยวิธีนี้จะถามเป็นคำถามแรก ตามปกติการกำจัดขยะอินทรีย์จะมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อไส้เดือนดินมีน้ำหนัก 2 กิโลกรัม ต่อจำนวนขยะอินทรีย์ที่เริ่มบูดแล้ว ปริมาณ 1 กิโลกรัม อย่างไรก็ตาม การเริ่มต้นด้วยปริมาณไส้เดือนในอัตรานี้จะเป็นวิธีการที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ดังนั้น ในระยะเตรียมการจึงควรมีปริมาณไส้เดือนดินอย่างน้อย 1 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร ซึ่งใช้ระยะเวลาประมาณ 4-6 สัปดาห์ ก็จะทำให้ปริมาณไส้เดือนเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว และทวีจำนวนมากขึ้นตามสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

"ปริมาณอาหารที่ไส้เดือนต้องการจะแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ และจำนวนไส้เดือน ในสภาพแวดล้อมนั้นๆ โดยปกติไส้เดือนดินชอบอาหารที่มีปริมาณโปรตีนสูง ซึ่งรวมถึงในดินที่มีปริมาณอินทรียวัตถุจำนวนมาก จากการศึกษาของนักวิจัยต่างประเทศพบว่า ปริมาณของถุงไข่ไส้เดือนจะเพิ่มขึ้นมากตามปริมาณอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น จากมูลสัตว์จะมีอัตราการเพิ่มถุงไข่ดีกว่าการให้ตอซังข้าวเป็นอาหารกับไส้เดือน และในอาหารที่มีปริมาณไนโตรเจนสูง ไส้เดือนจะโตเร็ว และสืบพันธุ์ออกลูกได้เป็นจำนวนมากรุ่นกว่าการเลี้ยงในอาหารที่มีปริมาณไนโตรเจนต่ำ"

ดร.อานัฐ กล่าวว่า ปริมาณขยะสดที่ควรเตรียมให้ไส้เดือนดิน ควรจะมีการเตรียมการหมักให้เริ่มบูดเสียก่อน ก่อนที่จะนำมาใส่ในกระบะเลี้ยงไส้เดือน เนื่องจากไส้เดือนไม่กินของสด ไส้เดือนกินอาหารด้วยการดูดเข้าไปในร่างกายจึงกินได้เฉพาะของที่เริ่มบูดเน่าและกำลังสลายตัวเป็นของเหลว ดังนั้น การเตรียมปริมาณขยะสดที่เริ่มบูดเน่าในปริมาณที่พอดีกับจำนวนไส้เดือนดิน หรือมากกว่าเล็กน้อยจึงเป็นสิ่งที่ควรจะนำมาปฏิบัติ เนื่องจากจะเป็นวิธีที่เพิ่มจำนวนออกถุงไข่ของไส้เดือนดิน โดยปกติไส้เดือนดินสายพันธุ์ไทยจะตกถุงไข่ทุกๆ 14 วัน ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

อย่างไรก็ตาม ในวัสดุที่ใช้เป็นอาหารของไส้เดือนที่มีปริมาณสารโพลีพีนอล (ใบสน,รากสน) และมีปริมาณลิกนินเป็นองค์ประกอบที่มาก ซึ่งมักจะมีในพืชที่ยืนต้น จะมีส่วนในการลดจำนวนประชากรของไส้เดือน เมื่อนำมาใช้เป็นอาหารของไส้เดือนดิน

ดร.อานัฐ กล่าวอีกว่า ไส้เดือนสายพันธุ์ไทย Pheretima peguana และ Pheretima posthum จะกินอาหารเฉลี่ย 120-150 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กรัม ต่อวัน ทั้งนี้เนื่องจากประเทศไทยอยู่ในเขตร้อน โดยปกติไส้เดือนดินสายพันธุ์ไทย 1 กิโลกรัม จะมีจำนวนประมาณ 1,200 ตัว จึงควรได้รับอาหารประมาณ 120-150 กรัม ต่อวัน ส่วนไส้เดือนดินสายพันธุ์ต่างประเทศนั้นจะกินอาหารประมาณ 240-300 กรัม ต่อวัน ต่อน้ำหนักไส้เดือน 1 กิโลกรัม ซึ่งเป็นจำนวน 2 เท่า ของอาหารไส้เดือนดินสายพันธุ์ไทย

"เราศึกษาแล้วว่า พันธุ์ต่างประเทศกินอาหารเก่ง แต่เราจะไม่ส่งเสริมให้เลี้ยงกัน เพราะว่าหากหลุดไปอยู่ในดินตามธรรมชาติ อาจจะทำให้ระบบนิเวศวิทยาเปลี่ยนไป ซึ่งในอนาคตเป็นเรื่องไม่แน่นอน เราไม่อยากเห็นเหมือนกับการระบาดของหอยเชอรี่ ซึ่งเป็นสัตว์ที่นำเข้ามา แล้วกลับเป็นโทษ"

"ใครอยากเลี้ยงไส้เดือนเพื่อการค้าหรือเพื่อผลิตปุ๋ยหมักหรือกำจัดขยะ อยากแนะนำให้เป็นสายพันธุ์ไทยมากกว่า แม้ว่ากินอาหารไม่เก่ง แต่ก็ไม่เป็นพิษเป็นภัยกับสภาพแวดล้อมหรือระบบนิเวศวิทยา ซึ่งขณะนี้ผมพยายามเสาะหาสายพันธุ์ที่กินอาหารเก่งๆ มาขยายพันธุ์ คิดว่าอีกไม่นานคงได้สายพันธุ์ที่กินอาหารเก่งขึ้น" ดร.อานัฐ กล่าวย้ำถึงสายพันธุ์ไส้เดือนดิน



การจัดการโรงเรือน

ในขณะที่ไส้เดือนกำลังกินขยะสดที่ให้ในปริมาณที่เหมาะสม จะพบว่าชั้นของไส้เดือนในกระบะจะมีความสูงมากขึ้นเรื่อยๆ การจัดการอาหารที่ให้กับไส้เดือนดินกินหมดในระยะเวลา 2-3 วัน จึงเป็นสิ่งที่เหมาะสม ทำให้สามารถคำนวณจำนวนของไส้เดือนดินที่มีอยู่ในโรงเรือนได้ อีกทั้งยังทำให้กำหนดปริมาณของปุ๋ยหมักจากมูลไส้เดือนดิน และน้ำหมักจากมูลไส้เดือนดินที่สามารถผลิตได้อีกด้วย

"หลักการในการจัดการโรงเรือนก็คือ การพยายามควบคุมไม่ให้เกิดความร้อนขึ้นในกระบะที่ไส้เดือนดินอาศัยอยู่ เนื่องจากจะเป็นสิ่งที่จำกัดการเจริญเติบโตของไส้เดือนดิน และลดจำนวนไส้เดือนดิน รวมถึงลดการกินขยะสดที่จัดเตรียมเอาไว้ด้วย"

สำหรับเทคนิคการแยกไส้เดือนดินออกจากปุ๋ยหมักมูลสัตว์ชนิดนี้นั้น ดร.อานัฐ บอกว่าสามารถทำได้หลายเทคนิค เช่น การใช้แสงไฟไล่ เนื่องจากไส้เดือนดินไม่ชอบแสง หรือใช้ตะแกรงร่อนด้วยมือก็ได้

ใครอยากเห็นการเลี้ยงไส้เดือนดินด้วยสายตาตัวเอง โปรดติดต่อไปได้ที่ ภาควิชาทรัพยากรดินและสิ่งแวดล้อม คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม้โจ้ ที่นี่มีโรงเรือนเลี้ยงไส้เดือนดินทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่

ไม่แน่ขยะที่เป็นปัญหาของสังคมเมือง อาจแก้ไขได้ด้วยไส้เดือนดิน สัตว์ที่หลายคนรังเกียจ แต่มีประโยชน์มหาศาล



*ศัตรูของไส้เดือนดิน

สำหรับศัตรูไส้เดือนดินนั้น ดร.อานัฐ บอกว่า เป็นสิ่งมีชีวิตที่ถูกล่าโดยศัตรูหลายชนิด ซึ่งรวมถึงมนุษย์ด้วยเช่นกัน ในบางประเทศจะนำไส้เดือนดินมาเป็นอาหารของมนุษย์ เนื่องจากมีโปรตีนสูง มีสารบำรุงที่เหมาะสมสำหรับคนเป็นโรคหัวใจ อีกทั้งยังมีสรรพคุณในการเป็นยาบำรุงเพศในตำราจีน รวมถึงสรรพคุณในการแก้ช้ำใน ที่นักโทษในเรือนจำหลายแห่งในประเทศไทยรู้จักสรรพคุณกันดี

"ไส้เดือนดิน จะถูกล่าโดยสัตว์ปีก โดยจะเป็นอาหารของเป็ด ไก่ นก สุกร พังพอน และสัตว์อีกหลายชนิด ดังนั้น ในการสร้างโรงเรือนจึงจำเป็นที่จะต้องมีตาข่ายมิดชิดในการป้องกันไม่ให้สัตว์เหล่านั้นเข้ามาในโรงเรือน และทำให้ปริมาณไส้เดือนลดลง" ดร.อานัฐ กล่าว



*ประโยชน์ของไส้เดือนดิน

- ไส้เดือนช่วยพลิกกลับดินโดยการกินดิน ทำให้แร่ธาตุในดินผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน ช่วยทำลายชั้นดิน

- ช่วยในการย่อยสลายสารอินทรีย์ที่รวมถึงซากพืชซากสัตว์และอินทรียวัตถุต่างๆ ในดิน

- ส่งเสริมการละลายธาตุอาหารพืชที่อยู่ในรูปอนินทรียสารที่พืชใช้ประโยชน์ไม่ได้ไปอยู่ในรูปที่พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้

- ช่วยในการปรับปรุงโครงสร้างของดิน

- การไชชอนของไส้เดือน ทำให้ดินร่วนซุย



*การกำจัดขยะสดในครัวเรือน

การกำจัดเศษอาหารในครัวเรือน รวมถึงจากวัสดุที่สลายตัวได้ เป็นสิ่งที่นิยมทำกันในหลายประเทศที่พัฒนาแล้ว เนื่องจากความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมและมาตรการลดภาษีสิ่งแวดล้อมกับครัวเรือนในชุมชนที่มีรูปแบบการกำจัดขยะสดด้วยตนเอง เป็นแรงผลักดันโดยรูปแบบการจัดการจะสามารถทำได้โดยใช้ชุดเลี้ยงไส้เดือนดินที่เป็นการค้า และออกแบบดัดแปลงเองจากวัสดุหาง่ายที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่น ตู้ลิ้นชักพลาสติก ท่อคอนกรีต บ่อดิน กระถาง เป็นต้น



*ระบบย่อยอาหาร

ทางเดินอาหารมีลักษณะเป็นท่อตรง เริ่มตั้งแต่ปากจนถึงทวารหนัก ทางเดินอาหารแบ่งเป็นส่วนๆ และแบ่งหน้าที่กันโดยเฉพาะ ดังนี้

1. ปาก อยู่ใต้ริมฝีปากบน (prostomium) นำไปสู่ช่องปาก (buccal cavity) จนถึงปล้องที่ 3

2. คอหอย (pharynx) เป็นกล้ามเนื้อใหญ่แข็งแรง ช่วยในการดูดอาหารเข้าปาก อยู่ระหว่างปล้องที่ 3 ถึงปล้องที่ 6 บริเวณนี้มีต่อมน้ำลายสร้างน้ำลายซึ่งช่วยหล่อลื่นอาหารด้วย

3. หลอดอาหาร (esophagus) อยู่ระหว่างปล้องที่ 6 ถึงปล้องที่ 14 ตอนต้นๆ ของหลอดอาหารจะพองโตออกเป็นที่พักอาหาร (crop) และกึ๋น (gizzard) กึ๋นเป็นกล้ามเนื้อแข็งแรง ทำหน้าที่บดอาหารให้ละเอียด หลอดอาหารส่วนท้ายจะเป็นท่อขนาดเล็ก

4. ลำไส้ (intestine) ตั้งต้นจากปล้องที่ 14 ไปจนถึงทวารหนักในปล้องสุดท้าย ลำไส้ตรงปล้องที่ 25 มีงวงลำไส้ (intestinal caeca) หรือไส้ติ่งยื่นออกมาทั้งสองข้างของลำไส้ยื่นขึ้นไปทางด้านหน้าจนถึงปล้องที่ 22 ภายในงวงลำไส้มีน้ำย่อย สามารถย่อยและดูดซึมอาหารได้ด้วย

ผนังลำไส้ของไส้เดือนดินค่อนข้างบางและผนังลำไส้ด้านบนจะยื่นเข้าไปข้างในช่องทางเดินอาหาร เรียกว่า ไทโฟลโซล (typhlosole) ทำให้มีพื้นที่ในการย่อยและดูดซึมอาหารได้มากขึ้น ผนังลำไส้ประกอบด้วยชั้นต่างๆ คล้ายผนังลำตัวคือเยื่อบุช่องท้องวิสเซอรอล (visceral peritoneum) อยู่ชั้นนอกสุดของลำไส้ ติดกับช่องตัว เซลล์บางเซลล์บนเยื่อนี้จะเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์พิเศษ เรียกว่า เซลโคลราโกเจน (chloragogen cells) ทำหน้าที่คล้ายตับ คือสร้างไขมัน และเก็บสารไกลโคเจน (glycogen) และยังทำหน้าที่รวบรวมของเสียจากเลือด และของเหลวในช่องตัว แล้วขับถ่ายออกนอกร่างกายทางรูด้านหลัง หรือเนฟริเดียถัดจากเยื่อบุช่องท้องวิสเซอรอล ของลำไส้เข้าไปเป็นชั้นของกล้ามเนื้อ ชั้นในสุดของลำไส้เป็นเยื่อบุลำไส้ซึ่งประกอบด้วย เซลล์รูปแท่งทรงกระบอก เยื่อชั้นนี้มีเซลล์ต่อม (gland cells) ทำหน้าที่ผลิตน้ำย่อยชนิดต่างๆ เพื่อย่อยอาหารจากโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน

อาหารของไส้เดือนดินเป็นเศษใบไม้และหญ้า เมื่อกินเข้าไปแล้วจะเก็บไว้ที่ถุงพักอาหารชั่วคราว แล้วส่งให้กึ๋นทำหน้าที่บดอาหารให้ละเอียด ภายในกึ๋นมีเม็ดทรายช่วยทำให้อาหารละเอียดยิ่งขึ้น อาหารจะถูกย่อยและดูดซึมภายในบริเวณลำไส้ ส่วนกากอาหารจะถูกขับออกทางทวารหนัก (จำนง, 2527)

ส่วนมากไส้เดือนดินกินพวกพืช เศษหญ้า เศษผัก เป็นอาหาร ทั้งนี้ สังเกตได้ว่าหลังจากที่ไส้เดือนดินขึ้นมาบนพื้นดินเพื่อหาอาหารกินแล้ว จะมีเศษหญ้าเศษพืชต่างๆ ปกคลุมอยู่ตามรูที่มันอาศัยอยู่ นอกจากกินเศษพืชต่างๆ เป็นอาหารแล้ว ไส้เดือนดินยังกินสัตว์เล็กๆ เช่น แมลงและตัวอ่อนของแมลงเป็นอาหารอีกด้วย ดังนั้น จึงจัดไส้เดือนดินอยู่ในสัตว์จำพวกกินทั้งพืชและสัตว์ (omnivorous) ในช่วงฤดูแล้ง ไส้เดือนดินออกหากินลำบาก เพราะผิวดินแห้งแข็ง ไส้เดือนดินไม่สามารถที่จะโผล่ขึ้นมาหากินบนพื้นดินได้ในช่วงเวลานี้ ไส้เดือนดินจะต้องแยกอาหารที่มีปะปนอยู่ในดินภายในลำตัวของมันเอง โดยแยกกากอาหารหรือดินที่ย่อยไม่ได้ออกทางทวารหนัก จะสังเกตได้ว่ากองดินที่อยู่เหนือรูที่ไส้เดือนดินอาศัยอยู่นั้นจะสูง ทั้งนี้ เพราะมีกากอาหารถ่ายออกมามาก อีกประการหนึ่งจะสังเกตได้ว่าในเวลาอาหารสมบูรณ์ เช่น ในฤดูฝน ไส้เดือนดินมักจะขุดรูอยู่ตามผิวดินตื้นๆ เพื่อสะดวกต่อการหาอาหาร แต่เมื่อถึงฤดูหนาวหรือฤดูร้อนไส้เดือนดินจะยิ่งอยู่ลึกลงไปทุกที ทั้งนี้ ก็เพราะว่ามันแยกอาหารจากดินลึกลงไป เมื่ออาหารที่บริเวณตื้นๆ ไม่พอ มันก็จำเป็นต้องขุดลึกลงไปอีก (อาจ, 2505)

ระบบขับถ่าย

อวัยวะขับถ่ายของไส้เดือนดินคือ ไต หรือเนฟรีเดีย (nephridia) มีประจำอยู่ทุกปล้อง ปล้องละ 1 คู่ ยกเว้น 3 ปล้องแรกและปล้องสุดท้ายจะไม่มี เนฟริเดียแต่ละอันประกอบด้วยส่วนต่างๆ เนโฟรสโตม (nephrostome) เป็นรูเปิดอยู่ภายในช่องตัว บริเวณนี้มีซีเลียสำหรับโบกพัดของเสียจากช่องตัวเข้าไปในรูเปิดนี้ต่อจากเนโฟรสโตม เป็นท่อยาวแคบ เรียกว่า ท่อไตหรือท่อขับถ่าย (nephriduct) ขดไปมาปลายท่อขับถ่ายเป็นกระเปาะโตขึ้น ทำหน้าที่กระเพาะปัสสาวะ (bladder) และเปิดออกภายนอกตัวที่รูขับถ่าย (nephridiopore) ตรงบริเวณด้านท้องค่อนมาทางด้านข้างทั้งสองข้าง เนฟริเดียตรงส่วนของเนโฟรสโตมจะเกาะติดกับเยื่อกั้น (septum) และทะลุไปทางด้านหน้า ส่วนท่อขับถ่ายและรูขับถ่ายจะอยู่ในปล้องหลังถัดมา

เนฟริเดียนอกจากจะรับของเสียที่เป็นของเหลวจากช่องตัวแล้ว ยังรับของเสียจากเส้นเลือดฝอยที่มาพันรอบๆ ท่อขับถ่าย โดยวิธีซึมแพร่ด้วย

การหายใจ

ไส้เดือนดิน ยังไม่มีอวัยวะสำหรับหายใจ โดยเฉพาะการหายใจเกิดขึ้นที่ผิวหนัง โดยกระแสเลือดในเส้นเลือดฝอยบริเวณคิวติเคิลของผนังลำตัว จะทำหน้าที่รับก๊าซออกซิเจนพร้อมกับปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาทางผิวของผนังร่างกายเช่นกัน ก๊าซออกซิเจนจะรวมตัวกับฮีโมโกลบินในน้ำเลือด และถูกนำไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ ทั่วร่างกาย

ระบบประสาท

ระบบประสาทของไส้เดือนดินซึ่งประกอบด้วยปมประสาทสมอง (suprapharyngeal ganglia) 1 คู่ อยู่เหนือคอหอยปล้องที่ 3 จากสมองมีเส้นประสาทรอบคอหอย (circumpharyngeal connectives) 2 เส้น อ้อมรอบคอหอยข้างละเส้น เส้นประสาททั้งสองเส้นนี้ลงมาเชื่อมกันกลายเป็นปมประสาทใต้คอหอย (subpharyngeal ganglion) ซึ่งมีสองปมอยู่ตรงปล้องที่ 4 ทั้งหมดนี้ จึงมีลักษณะเป็นประสาทวงแหวนรอบคอหอย จากปมประสาทใต้คอหอยติดต่อกับเส้นประสาทใหญ่ด้านท้อง (ventral nervecord) ทอดไปตามความยาวของลำตัวด้านท้องจนถึงปล้องสุดท้าย เส้นประสาทใหญ่ด้านท้องนี้จะมีปมประสาทที่ปล้อง (segmental ganglion) ประจำอยู่ทุกปล้อง ปล้องละ 1 ปม และแต่ละปมมีแขนงประสาท (Iateral nerves) แยกออกไป 3 คู่ แขนงประสาทที่ประจำอยู่แต่ละปล้องจะยื่นเข้าไปในชั้นของกล้ามเนื้อของผนังลำตัวติดต่อกับใยประสาทรับความรู้สึก (sensory fiber) นำกระแสความรู้สึกจากผิวของร่างกายเข้าสู่เส้นประสาทและติดต่อกับใยประสาทส่งความรู้สึก (motor fiber) เพื่อนำกระแสความรู้สึกจากเส้นประสาทไปยังกล้ามเนื้อและผิวหนัง แขนงประสาทจากปมประสาทที่ปล้องยังควบคุมการทำงานของเนฟริเดีย และอวัยวะภายในอื่นๆ ด้วย

อวัยวะรับความรู้สึกของไส้เดือนดินปรากฏว่า ยังไม่มีอวัยวะรับความรู้สึกใดๆ มีเพียงเซลล์รับความรู้สึก (sensory cells) ที่อยู่กระจายตามผิวหนัง ริมฝีปากบนและในช่องปาก เซลล์รับความรู้สึกเหล่านี้ติดต่อกัน ระบบประสาท นอกจากเซลล์รับความรู้สึกแล้ว ยังมีเซลล์รับแสงสว่าง (photoreceptor cells) ในชั้นของเอปิเดอร์มิส มีมากอยู่ที่ริมฝีปากบนปล้องที่อยู่ทางด้านหน้าและปล้องท้ายๆ ของร่างกาย เซลล์รับแสงแต่ละเซลล์ประกอบด้วยออร์กาเนลล์ที่ทำหน้าที่เป็นเลนส์รวมแสงไปยังใยประสาท (neuro fibrils) ซึ่งทำหน้าที่เป็นเรตินา (retina) และส่งความรู้สึกเกี่ยวกับแสงสว่างไปยังระบบประสาท ถ้ามีแสงสว่างมากเกินไปมันจะเคลื่อนที่หนีเข้าไปอยู่ในที่มืดหรือขุดรูหลบหนีไป

ปุ๋ยหมักชีวภาพ

ปุ๋ยหมักชีวภาพคืออะไร มีวิธีการทำอย่างไร
ปุ๋ยหมักชีวภาพ คือ ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผ่านกระบวนการหมักกับน้ำสกัดชีวภาพ ช่วยในการปรับปรุงดิน ย่อยสลายอินทรีย์วัตถุในดินให้เป็นอาหารแก่พืช


วัสดุทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
1. มูลสัตว์แห้งละเอียด 3 ส่วน
2. แกลบดำ 1 ส่วน
3. อินทรีย์วัตถุอื่นๆ ที่หาได้ง่าย เช่น แกลบ ชานอ้อย ขี้เลื่อย เปลือกถั่วลิสง เปลือกถั่วเขียว และขุยมะพร้าว เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน 3 ส่วน
4. รำละเอียด 1 ส่วน
5. น้ำสกัดชีวภาพ 1 ส่วน + น้ำตาล 1 ส่วน + น้ำ 100 ส่วน คนจนละลายเข้ากันดี    
วัสดุทำปุ๋ยหมักชีวภาพ    
1. นำวัสดุต่างๆ มากองซ้อนกันเป็นชั้นๆ แล้วคลุกเคล้าจนเข้ากันดี
2. เอาส่วนผสมของน้ำสกัดชีวภาพน้ำตาลและอ้อย ใส่บัวราดบนกองวัสดุปุ๋ยหมัก คลุกให้เข้ากันทั่วให้ได้ความชื้นพอหมาดๆ อย่าให้แห้งหรือชื้นเกินไป
3. หมักกองปุ๋ยหมักไว้ 4-5 วัน ก็นำไปใช้ได้
4. วิธีหมักทำได้ 2 วิธีคือ
4.1 เกลี่ยกองปุ๋ยหมักบนพื้นซีเมนต์ หนาประมาณ 1-2 คืบ คลุมด้วยกระสอบป่านทิ้งไว้ 4-5 วัน ตรวจดูความร้อนในวันที่ 2-3 ถ้าร้อนมากอาจต้องเอากระสอบที่คลุมออก แล้วกลับกองปุ๋ยเพื่อระบายความร้อน หลังจากนั้นกองปุ๋ยจะค่อยๆ เย็นลง นำลงบรรจุกระสอบเก็บไว้ใช้ต่อไป
4.2 บรรจุปุ๋ยหมักที่คลุกเข้ากันดีแล้ว ลงในกระสอบปุ๋ยไม่ต้องมัดปากถุง ตั้งทิ้วไว้บนท่อนไม้หรือไม่กระดานที่สามารถถ่ายเทอากาศใต้พื้นถุงได้ ทิ้งไว้ 5-7 วัน
จะได้ปุ๋ยหมักชีวภาพที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์และสารอินทรีย์ต่างๆ เช่นเดียวกับน้ำสกัดชีวภาพในรูปแห้ง ปุ๋ยหมักชีวภาพที่ดีจะมีกลิ่นหอม มีใยสีขาวของเชื้อราเกาะกันเป็นก้อน ในระหว่างการหมักถ้าไม่เกิดความร้อนเลยแสดงว่าการหมักไม่ได้ผล อุณหภูมิในระหว่างการหมักที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 40-50 องศาเซลเซียส ถ้าเราได้ความชื้นสูงเกินไปจะเกิดความร้อนสูงเกินไป ฉะนั้นความชื่นที่ให้ต้องพอดีประมาณ 30% ปุ๋ยหมักชีวภาพเมื่อแห้งดีแล้ว สามารถเก็บไว้ได้นานหลายเดือน เก็บไว้ในที่แห้งในร่ม
วิธีใช้
1. ผสมปุ๋ยหมักชีวภาพกับดินในแปลงปลูกผักทุกชนิดในอัตรา 1 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร
2. พืชผักอายุเกิน 2 เดือน เช่น กะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว แตง และฟักทอง ใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพคลุกกับดิน รองก้นหลุมก่อนปลูกกล้าผัก ประมาณ 1 กำมือ
3. ไม้ผลควรรองก้นหลุมด้วยเศษหญ้า ใบไม้แห้ง ฟาง และปุ๋ยหมักชีวภาพ 1-2 กิโลกรัม สำหรับไม่ที่ปลูกแล้วใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพแนวทรงพุ่ม 1-2 กำมือ ต่อ 1 ตารางเมตร แล้วคลุมด้วยหญ้าแห้งใบไม้แห้งหรือฟาง แล้วรดน้ำสกัดชีวภาพให้ชุ่ม
4. ไม้ดอก ไม่ประดับ ไม้กระถาง ควรใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพ เดือนละ 1 ครั้งๆ ละ 1 กำมือ
หมายเหต ุ ปุ๋ยหมักชีวภาพไม่ใช่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก แต่เป็นหมักจุลินทรีย์ เมื่อใส่ลงดินที่มีความชื่นพอ เชื่อจุลินทรีย์ที่ได้จากน้ำสกัดชีวภาพ จำทำหน้าที่ย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ ให้เป็นสารอินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อต้นไม้ จึงไม่จำเป็นต้องให้ในปริมาณมากๆ และในดินต้องมีอินทรีย์วัตถุ พวกปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หญ้าแห้ง และใบไม้แห้งและมีความชื้นอย่างเพียงพอ เป็นต้น จึงจะได้ประโยชน์เต็มที่จากการใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพ และบ่อยครั้งเท่าไรเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดนั้น ท่านต้องให้ความสังเกตเอาเอง เพราะพืชแต่ละชนิด และในแต่ละพื้นที่มีการตอบสนองต่อปุ๋ยหมักชีวภาพไม่เหมือนกัน
การ นำปุ๋ยหมักไปใช้อย่างประหยัดและได้ผลอีกวิธีหนึ่งคือ ก่อนนำไปใช้ควรผสมปุ๋ยหมักชีวภาพกับปุ๋ย หรือปุ๋ยคอกเสียก่อน ในอัตราส่วนปุ๋ยหมักชีวภาพ 1 ส่วนต่อปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคือก 10 ส่วน คลุกให้เข้ากันดี แล้วนำไปใช้เช่นเดียวกับการใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก โดยวิธีนี้จะใช้มากเท่าไหร่ก็ไม่เป็นผลเสีย อย่าลืมด้วยว่าด้วยเทคนิคจุลินทรีย์เราไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก ปริมาณมาก เช่นที่เราเคย ปฏิบัติมา ใช้เพียง 1 ใน 4 ส่วนก็พอแล้ว หรือขึ้นอยู่กับปริมาณอินทรีย์ที่มีอยู่แล้วในดิน ถ้ามีอยู่มากเราก็ใส่แต่น้อย ถ้ามีอยู่น้อยเราก็ใส่มากหน่อยหรือบ่อยหน่อย


ปุ๋ยหมักน้ำ

ปุ๋ยหมักน้ำ

ปุ๋ยหมักน้ำหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ เป็นผลผลิตจากการนำวัสดุเหลือใช้ หรือกากวัสดุเหลือทิ้ง เช่น เศษขยะจากครัวเรือน ขยะจากตลาดสด เศษวัสดุจากโรงงานแปรรูปอาหารต่างๆ นำมาหมักโดยเติม กากน้ำตาลหรือเติมหัวเชื้อจุลินทรีย์ สำหรับวิธีการหมัก แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ แบบหมักให้อากาศและแบบหมักอับอากาศ โดยขบวนการหมักมี 2 ขั้นตอน คือ กระบวนการพลาสโมไลซีส เป็นการเติมกากน้ำตาล หรือน้ำตาล เพื่อดึงน้ำเลี้ยงออกจากเซลล์พืช เช่น กรดอะมิโนโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไลปิด ฯลฯ และ ขั้นตอนที่ 2 เป็นการย่อยสลายของจุลินทรีย์ ทำให้สารอินทรีย์ถูกย่อยสลายเล็กลง และอาจจะมีการสร้าง สารอินทรีย์บางชนิดขึ้นมา และการย่อยสลายของจุลินทรีย์ทำให้การปลดปล่อยธาตุอาหารพืชออกมา แต่ทั้งนี้ ปริมาณอาหารพืชชนิดต่างๆ ขึ้นอยู่กับเศษวัสดุที่เป็นวัตถุดิบในการหมัก


สารที่พบในปุ๋ยน้ำหมักและการใช้ประโยชน์

จากรายงานผลการวิเคราะห์ปุ๋ยน้ำหมักสูตรต่างๆ เช่นสูตรปุ๋ยปลาของสถาบันวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (วท.) ซึ่งใช้เศษปลาบดย่อย 100 ก.ก. กรดฟอร์มิก (98 %) 3.5 ลิตร และน้ำตาลทรายแดง 20 ก.ก. หมัก 28 วัน พบว่ามีไนโตรเจน (N) 0.2 % ฟอสฟอรัส (P) 0.05 % และโปแตสเซียม (K) 1 – 2 % และมีธาตุอาหารรองหลายชนิด เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก สังกะสี และแมงกานีส นอกจากธาตุอาหารแล้ว ยังมีฮอร์โมนหลายชนิด เช่น ออกซิน จิบเนอเรลสิน ไซโตคินิน ขึ้นกับวัตถุดิบ ในการนำมาหมัก โดยเฉพาะวัตถุดิบจากเศษพืช

ปัจจุบันมีการนำปุ๋ยหมักน้ำมาใช้ในการปลูกพืชกันอย่างกว้างขวาง และหลากหลาย ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบในท้องถิ่น ซึ่งวัตถุประสงค์ในการใช้ส่วนใหญ่เน้นหนักในเรื่องการส่งเสริมการเจริญเติบโต ของพืช ซึ่งนักวิชาการด้านการเกษตรได้แนะนำ ให้ใช้ควบคู่กับปุ๋ยเคมี หรืออินทรีย์วัตถุชนิดอื่น ร่วมไปด้วย เพราะเห็นได้จากผลการวิเคราะห์ว่ามีธาตุอาหารอยู่ในปริมาณค่อนข้างน้อย และส่วนมากจะได้ผลดี กับการฉีดพ่นให้ทางใบ นอกจากคุณสมบัติในด้านให้ธาตุอาหารแก่พืชแล้ว ยังมีคุณสมบัติในด้านการขับไล่หรือป้องกันแมลง เช่น การยับยั้งการลอกคราบของแมลง ซึ่งอาจมีผลมาจากสารไคตินที่เป็นส่วนประกอบของกระดูกหรือเปลือกกุ้ง ปลา และผลชัดเจนของปุ๋ยน้ำหมัก คือการดับกลิ่นเหม็น ซึ่งเป็นปฏิกิริยาของเอนไซม์ จากการย่อยสลายของจุลินทรีย์ ในการนำไปใช้ประโยชน์ต้องผสมน้ำ เพื่อเจือจางความเข้มข้นของน้ำหมักให้ความเค็มลดลง ป้องกันการเกิดใบไหม้ในพืช โดยส่วนใหญ่แนะนำให้ใช้อัตราส่วน 1 : 500 หรือ 1 : 1,000 ขึ้นกับวัตถุดิบที่ใช้จัดทำว่ามีความเค็มมากน้อยเพียงใด

สูตรปุ๋ยหมักที่น่าสนใจ

เป็นสูตรปุ๋ยหมักน้ำที่หลากหลาย จากการคิดค้นของหน่วยราชการและเกษตรกรผู้ใช้ ทั้งนี้กรมส่งเสริมการเกษตรได้รวบรวมสูตรปุ๋ยน้ำหมักจากแหล่งต่างๆ ได้ 7 ประเภท ตามชนิดของวัตถุดิบ ในการหมัก คือ ปุ๋ยหมักน้ำจากพืชสด ผลไม้ หอยเชอรี่ ปลา มูลสัตว์ ขยะในครัวเรือน และสูตรรวมมิตร ซึ่งมีสูตรที่น่าสนใจ ดังนี้

1. สูตรการทำปุ๋ยน้ำหมักจากพืชสด

ใช้พืชใบเขียวทุกชนิดหมักกับกากน้ำตาล หรือน้ำตาลทรายแดง ในอัตราส่วน 10 : 1 หรือใช้เศษพืชผัก 10 ก.ก. กับกากน้ำตาล 1 ก.ก. หมักนาน 15 – 30 วัน ใช้ได้

2. ปุ๋ยหมักน้ำที่ผลิตจากผลไม้หรือการทำฮอร์โมนพืช

ใช้ผลไม้เช่น กล้วยน้ำว้าสุก ฟักทองแก่จัด มะละกอสุก 1 ก.ก. สับให้ละเอียดผสมกับน้ำหมักพืช 2 ช้อนแกง กากน้ำตาล 2 ช้อนแกง และน้ำสะอาด 2 ลิตร หมัก 7 – 8 วัน นำไปใช้ได้

3. การทำปุ๋ยหมักน้ำจากหอยเชอรี่

ใช้หอยเชอรี่ทั้งเปลือกทุกให้ละเอียด ผสมกับกากน้ำตาลและน้ำหมักหัวเชื้อจุลินทรีย์ (สับปะรดสุก 3 ส่วน โมลาส 1 ส่วน น้ำมะพร้าว 1 ส่วน หมัก 7 – 10 วัน) อัตราส่วน 3 : 3 : 1 ใช้เวลาหมักประมาณ 1 เดือน

4. ปุ๋ยปลาหมักเป็นสูตรของ วท.

ใช้เศษปลาบดย่อยแล้ว 100 ก.ก. ผสมกับกรดฟอร์มิก 3.5 ลิตร และน้ำตาลทรายแดง หรือกากน้ำตาล 20 ก.ก. หรือ 20 ลิตร หมักไว้ประมาณ 1 เดือน และคนเป็นครั้งคราว ใช้ในอัตราส่วนผสมน้ำ 1 : 50 หรือ 1 : 100

5. สูตรปุ๋ยน้ำหมักจากมูลสัตว์ ของวัดญาณสังวรวรารามมหาวิหาร จ.ชลบุรี

ใช้
รำละเอียด 60 ก.ก. ผสมมูลไก่ 40 ก.ก. และเชื้อผง 1 ซอง (1ซองผสมน้ำ 20 ลิตร)

หมายเหตุ เอกสารอ้างอิง วารสารเคหการเกษตร ปีที่ 25 ฉบับที่ 4 เดือนเมษายน 2544

การทำปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ จากเศษอาหาร

การทำปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ จากเศษอาหาร
ปุ๋ยหมักจุลินทรีย์
การทำปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ จากเศษอาหาร
      ทุกครัวเรือน ร้านอาหาร ภัตตาคาร ฯลฯ ล้วนมีเศษอาหารที่เป็นผักผลไม้ และเศษอาหารอื่น ๆ จำนวนมากน้อยแล้วแต่สถานที่ สามารถนำไปหมักเป็นปุ๋ยหมักชั้นเลิศ เพื่อใส่พืชผักและผลไม้ที่ปลูกไว้ได้
อุปกรณ์
- ถังพลาสติกมีฝาปิดขนาด 20 – 200 ลิตร แล้วแต่ปริมาณเศษอาหารที่จะได้หรือต้องการ เจาะรูติดก๊อกน้ำบริเวณก้นถัง เพื่อไว้ระบายน้ำปุ๋ยหมัก ใช้ก๊อกให้มีขนาดโตพอสมควร เพื่อป้องกันการอุดตัน
- ถุงขยะพลาสติกสีดำ เจาะรูเล็ก ๆ 2 – 3 รู เพื่อให้น้ำปุ๋ยหมักผ่านทะลุได้ หรือจะใช้ตาข่ายไนล่อนตาถี่เย็บเป็นถุงก็ได้ หรือจะใช้กระสอบปุ๋ยน้ำซึมผ่านได้ก็ใช้ได้
- นำเอาถุงใส่ปุ๋ยที่เตรียมไว้ ใส่ลงในถังหมักปุ๋ยที่มีวัสดุรองก้นถัง ให้สูงจากระดับก๊อกน้ำเล็กน้อย
- ใช้กากน้ำตาล 20 – 40 ซีซี ใส่คลุกกับเศษอาหาร 1.. และใส่จุลินทรีย์ EM ขยาย  10 – 20 ซีซี คลุกอีกครั้ง ใส่ลงในถุงใส่ปุ๋ยทุกวันจนเต็มถุง
- ปิดฝาถังหมักไว้ตลอดเวลา หมักไว้อย่างน้อย 7 วัน ก็จะมีน้ำปุ๋ยหมักซึมออกมา อยู่ที่ก้นถังหมัก
- ไขก๊อกเอาน้ำปุ๋ยหมักที่ได้ไปผสมน้ำในอัตรา 1 : 500 – 1,000 รดพืชและต้นไม้ทุก ๆ วัน
- ผสมน้ำปุ๋ยหมักกับอัตราส่วน 1 : 20 – 50 หรือไม่ผสมก็ได้ราดพื้นห้องส้วมชักโครกหรือจุดที่มีกลิ่นเหม็นบริเวณบ้าน หรือราดในท่อน้ำทิ้งเพื่อดับกลิ่นก็ได้ผลดี
- กากอาหารที่เหลือก็สามารถไปคลุมกับดินเป็นปุ๋ยต้นไม้ได้ดี
ข้อสังเกต
ถ้าหมักได้ที่จะไม่มีแมลงวันหรือมีกลิ่นเหม็น แต่กลิ่นจะหอมอมเปรี้ยว
ถ้ามีกลิ่นเหม็นและมีกลิ่นก๊าซแอมโมเนีย แสดงว่าหมักไม่ได้ผล
ระหว่างหมักอาจจะมีหนอนแมลงวันเกิด แต่มันไม่กลายเป็นแมลงวัน จะเป็นหนอนตัวโตกว่าปกติ มีอายุอยู่นานได้หลาย ๆ วัน แล้วจะตายไปเอง

ปุ๋ยหมัก

ปุ๋ยหมัก
            ปุ๋ยหมัก เป็นสิ่งที่มีคุณค่ามากในทางการเกษตร แต่ก็ยังไม่ได้รับความสนใจหรือแพร่หลายเท่าที่ควร อาจจะเป็นเพราะสาเหตุหลายประการด้วยกัน เช่น เกษตรกรยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญที่แท้จริงของปุ๋ยหมักว่ามีคุณค่าเพียงใด ในการช่วยปรับปรุงดินให้ดีขึ้น หรือช่วยรักษาสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดินให้ดีอยู่เสมอ ไม่เสื่อมโทรมลงเรื่อยๆ อย่างเช่นปัจจุบันนี้ เหตุผลสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ เกษตรกรยังขาดแหล่งข้อมูลที่จะให้ความรู้ความเข้าใจในการทำปุ๋ยหมักอย่างถูก วิธี เป็นเหตุให้การทำปุ๋ยหมักก็ต้องใช้ในปริมาณมาก และมักไม่เห็นผลอย่างชัดเจนในระยะเวลาอันสั้น
            การทำปุ๋ยหมักไว้ใช้เองก็ต้องใช้แรงงานค่อนข้างมาก ต้องดูแลเอาใจใส่อยู่เสมอ การผลิตปุ๋ยหมักจึงจะได้ผลอย่างเต็มที่ การที่เกษตรกรจะผลิตปุ๋ยหมักขึ้นมาใช้กันอย่างจริงๆจังๆ จึงต้องอาศัยทั้งความรู้ ความเข้าใจในการทำปุ๋ยหมัก ต้องเข้าใจในคุณประโยชน์ที่แท้จริงของปุ๋ยหมัก และจะต้องมีความมุ่งมั่น ความตั้งใจจริงที่จะปรับปรุงที่ดินของตนให้เป็นผืนดินที่อุดมสมบูรณ์ มีประสิทธิภาพในการเพาะปลูก
            หวังว่าข้อมูลนี้ จะช่วยให้เกษตรกรและผู้สนใจ ได้รับความรู้ ความเข้าใจ สามารถทำ และใช้ปุ๋ยหมักได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ เพื่อประโยชน์ต่อการปรับปรุง และพัฒนาที่ดินของตนต่อไป
 การทำปุ๋ยหมัก
             คือ การนำเอาเศษซาก หรือวัสดุต่างๆ ที่ได้มาจากสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกที่ได้มาจากพืช เช่น เศษหญ้า ใบไม้ ฟางข้าว ผักตบชวา หรือแม้แต่ขยะมูลฝอยตามบ้านเรือนมากองรวมกัน รดน้ำให้มีความชื้นพอเหมาะ หมักไว้จนกระทั่งเศษพืช หรือวัสดุเหล่านั้นย่อยสลายและแปรสภาพไป กลายเป็นขุยสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม มีลักษณะพรุน ยุ่ย ร่วนซุย ที่เรียกว่า "ปุ๋ยหมัก" การย่อยและการแปรสภาพของเศษพืชหรือ วัสดุดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจากสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กๆ ที่เรียกว่า "จุลินทรีย์" ซึ่งอาศัยอยู่ในกองปุ๋ยสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กเหล่านี้มีอยู่ มากมายหลายชนิดปะปนกันอยู่ และพวกที่มีบทบาทในการแปรสภาพวัสดุมากที่สุดได้แก่ เชื้อรา และเชื้อบักเตรี
             วิธีการหมักวัสดุต่างๆ ให้กลายเป็นปุ๋ยหมัก อาจทำใด้หลายๆ วิธี แตกต่างกันไป เช่น การหมักเศษพืชแต่เพียงอย่างเดียว หรือมีการเติมมูลสัตว์หรือปุ๋ยเคมีลงไปในกองปุ๋ยด้วย เพื่อเร่งให้เศษวัสดุแปรสภาพได้เร็วขึ้น การใส่ผงเชื้อจุลินทรีย์เพิ่มเติมลงไปกองปุ๋ย เพื่อเสริมเชื้อจุลินทรีย์ที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติ หรือการมีรูปแบบของการกองปุ๋ยแตกต่างกันไป ซึ่งแต่ละวิธีอาจใช้ระยะเวลาในการหมักไม่เท่ากัน และปุ๋ยหมักที่ได้ก็มีคุณภาพแตกต่างกันไป


 ประโยชน์ของปุ๋ยหมัก
             ปุ๋ยหมักที่สลายตัวได้ที่ดีแล้ว เป็นวัสดุที่ค่อนข้างทนทานต่อการย่อยสลายพอสมควร ดังนั้น เมื่อใส่ลงไปในดิน ปุ๋ยหมักจึงสลายตัวได้ช้า ไม่รวดเร็ว เหมือนกับการไถกลบเศษพืชโดยตรง ซึ่งก็นับว่าเป็นลักษณะที่ดีอย่างหนึ่งของปุ๋ยหมัก เพราะทำให้ปุ๋ยหมักสามารถปรับปรุงดินให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมต่อ การเจริญเติบโตของพืชได้เป็นระยะเวลานานๆ ปุ๋ยหมักบางส่วนจะคงทนอยู่ในดินได้นานเป็นปี แต่ก็มีบางส่วนที่ ถูกย่อยสลายไป ในการย่อยสลายนี้จะมีแร่ธาตุอาหารพืชถูกปลดปล่อยออกมาจากปุ๋ยหมักให้พืชได้ ไช้อยู่เรื่อยๆ แม้ว่าจะเป็นปริมาณที่ไม่มากนัก แต่ก็ถูกปลดปล่อย ออกมาตลอดเวลาและสม่ำเสมอ
 คุณประโยชน์ของปุ๋ยหมักอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ
  1. ช่วยปรับปรุงสมบัติต่างๆ ของดินให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช
    ปุ๋ยหมักเป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติในการปรับปรุงสภาพ หรือลักษณะของดินให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช เซ่น ถ้าดินนั้นเป็นดินเนื้อละเอียดอัดตัวกันแน่น เช่น ดินเหนียว ปุ๋ยหมักก็จะช่วยทำให้ดินนั้นมีสภาพร่วนซุยมากขึ้น ไม่อัดตัวกันแน่นทึบ ทำให้ดินมีสภาพการระบายน้ำ ระบายอากาศดีขื้น ทั้งยังช่วยให้ดินมีความสามารถในการอุ้มน้ำ หรือดูดซับน้ำที่จะเป็นประโยชน์ต่อพืชไว้ได้มากขึ้น คุณสมบัติในข้อนี้เป็นคุณสมบัดิที่สำคัญมากของปุ๋ยหมัก เพราะที่ดินที่มีลักษณะร่วนซุย ระบายน้ำ ระบายอากาศได้ดีนั้น จะทำให้รากพืชเจริญเติบโตได้รวดเร็ว แข็งแรง แตกแขนงได้มาก มีระบบรากที่สมบูรณ์ จึงดูดซับแร่ธาตุอาหารหรือน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    ส่วนในกรณีที่ดินเป็นดินเนี้อหยาบ เช่นดินทราย ดินร่วนปนทราย ซึ่งส่วนใหญ่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ มีอินทรีย์วัตถุอยู่น้อย ไม่อุ้มน้ำ การใส่ปุ๋ยหมัก ก็จะช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน และทำให้ดินเหล่านั้นสามารถอุ้มน้ำ หรือดูดซับความชื้นไว้ให้พืชได้มากขึ้น ในดินเนื้อหยาบจึงควรต้องใส่ปุ๋ยหมักให้มากกว่าปกติ

    นอกจากคุณสมบัติต่างๆ ดังกล่าวมาแล้ว ปุ๋ยหมักยังสามารถช่วยปรับปรุงลักษณะดินในแง่อื่นๆ อีก เช่น ช่วยลดการจับตัวเป็นแผ่นแข็งของหน้าดิน ทำให้การงอกของเมล็ด หรือการซึมของน้ำลงไปในดินสะดวกขึ้น ช่วยลดการไหลบ่าของน้ำเวลาฝนตก เป็นการลดการพัดพาหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์ไป เป็นต้น

  2. ช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน
    ในแง่ของการช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ปุ๋ยหมักเป็นแหล่งแร่ธาตุอาหารที่จะปลดปล่อยธาตุอาหาร ออกมาให้แก่ต้นพืชอย่างช้าๆ และสม่ำเสมอ โดยทั่วไปแล้ว ปุ๋ยหมักจะมีปริมาณแร่ธาตุอาหารพืชที่สำคัญดังนี้ คือ ธาตุไนโตรเจนทั้งหมดประมาณ 0.4-2.5 เปอร์เซนต์ ฟอสฟอรัสในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ประมาณ 0.2-2.5 เปอร์เซนต์ และโพแทสเซียมในรูปที่ละลายน้ำได้ประมาณ 0.5-1.8 เปอร์เซนต์ ปริมาณแร่ธาตุอาหารดังกล่าวจะมีมาก หรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับชนิดของเศษพืชที่นำมาหมัก และวัสดุอื่นๆ ที่ใส่ลงไปในกองปุ๋ย

    ถึงแม้ปุ๋ยหมักจะมีธาตุอาหารหลักดังกล่าวอยู่น้อยกว่าปุ๋ยเคมี แต่ปุ๋ยหมักมีข้อดีกว่าตรงที่นอกจากธาตุอาหารทั้ง 3 ธาตุที่กล่าวมาแล้ว ปุ๋ยหมักยังมีธาตุอาหารพืชชนิดอื่นๆ อีกเซ่น แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน เหล็ก สังกะสี แมงกานีส โบรอน ทองแดง โมลิบดีนัม ฯลฯ ซึ่งปกติแล้วปุ๋ยเคมีจะโม่มี หรือมีเพียงบางธาตุเท่านั้น แร่ธาตุเหล่านี้มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช โม่น้อยกว่าธาตุอาหารหลัก เพียงแด่ต้นพืชต้องการในปริมาณน้อยเท่านั้นเอง

    นอกจากจะช่วยเพิ่มปริมาณธาตุอาหารพืชแล้ว ปุ๋ยหมักยังมีคุณค่าใน แง่ของการปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์อีกหลายๆ อย่างเช่น ช่วยทำให้แร่ธาตุอาหาร พืชทื่มีอยู่ในดินแปรสภาพมาอยู่ในรูปที่พืชสามารถดูดซึมไปใช้ได้ง่ายขึ้น ช่วยดูดซับแร่ธาตุอาหารพืชเอาไว้ไม่ให้ถูกน้ำฝนหรือน้ำชลประทานชะล้าง สูญหายไปได้ง่าย เป็นการช่วยถนอมรักษาแร่ธาตุอาหาร หรือความอุดมสมบูรณ์ ของดินไว้อีกทางหนึ่งเป็นต้น จากคุณสมบัดิ ดังที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า แม้ปุ๋ยหมัก จะมีปริมาณแร่ธาตุอาหารในปุ๋ยไม่เข้มขันเหมือนปุ๋ยเคมี แด่ก็มีลักษณะ อื่นๆ ที่ช่วยรักษา และปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินได้เป็นอย่างดี
 วิธีการใช้ปุ๋ยหมัก
             การใช้ปุ๋ยหมัก มีวัตถุประสงค์หลักก็เพื่อปรับปรุงสภาพของดินให้ เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช ถ้าจะให้ผลดีควรต้องใส่ในปริมาณที่มาก เพียงพอและใส่อย่างสม่ำเสมอทุกปี ในเนื้อของปุ๋ยหมักแม้ว่าจะมีธาตุอาหารพืช อยู่แต่ก็มีไม่มากเหมือนกับปุ๋ยเคมี ดังนั้นถ้าต้องการปรับปรุงความอุดม สมบูรณ์ของดิน โดยการเพิ่มเติมธาตุอาหารพืชลงไป จึงควรใส่ปุ๋ยเคมีร่วมไปกับ การใส่ปุ๋ยหมักด้วยจะให้ผลดีที่สุด ทั้งนี้ปุ๋ยหมักไม่เพียงแด่จะปลดปล่อยธาตุอาหาร ออกมาจำนวนหนึ่งเท่านั้น ยังมีบทบาทสำคัญช่วยให้การใช้ปุ๋ยเคมีเป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพ
             อัตราการใส่ปุ๋ยหมักในดินแด่ละแห่งก็แตกต่างกันไป แล้วแด่สภาพ ของดินและชนิดของพืชที่ปลูก ถ้าดินเป็นดินที่เสื่อมโทรม มีความอุดมสมบูรณ์ ต่ำ หรือดินที่มีเนื้อดินเป็นดินทรายจัด ก็ควรต้องใส่ปุ๋ยหมักให้มากกว่าปกติ ปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วจัดเป็นปุ๋ยที่สามารถใส่ให้กับพืชในปริมาณมากๆ ได้ไดยไม่เกิดอันตราย ดังนั้นถ้าผลิตปุ๋ยหมักได้มากพอแล้ว เราสามารถใส่ลงไป ในดินให้มากเท่าที่ต้องการได้ แด่ก็ไม่ควรใส่มากเกินอัตราปีละ 20 ตันต่อไร่ เพราะอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อดินได้

การใช้ปุ๋ยหมักกับพืชผัก
            พืชผักส่วนใหญ่เป็นพืชที่มีระบบราก แบบรากฝอย รากสั้นอยู่ตื้นๆ ใกล้ผิวดิน การใส่ปุ๋ยหมักจะมีประโยชน์มาก เพราะช่วยให้ดินร่วนซุยขึ้น ทำให้รากของพืชผักเจริญเติบโตได้รวดเร็ว แตกแขนงแพร่กระจายไปได้มาก มีระบบรากที่สมบูรณ์ ทำให้สามารถดูดซับ แร่ธาตุอาหารได้รวดเร็ว ทนต่อการแห้งแล้งได้ดีขึ้น วิธีการใส่ปุ๋ยหมักใน แปลงผักอาจใช้วิธีโรยปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้ว คลุมแปลงให้หนาประมาณ 1-3 นิ้ว ใช้จอบสับผสมคลุกเคล้าลงไปในดินให้ลึกประมาณ 4 นิ้ว หรือลึกกว่า นี้ ถ้าเป็นพืชที่ลงหัว พืชผักเป็นพืชที่มีการเจริญเติบโตรวดเร็ว ต้องการแร่ธาตุอาหารจาก ดินเป็นปริมาณมาก ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ถ้าจะให้ผลผลิตที่ดีควรใส่ปุ๋ยเคมี ร่วมไปกับการใส่ปุ๋ยหมักด้วย
การใช้ปุ๋ยหมักกับไม้ผลหรือไม้ยืนต้น
            ไม้ผลหรือไม้ยืนต้นเป็น พวกที่มีระบบรากลึก การเตรียมดินในหลุมปลูกให้ดีจะมีผลต่อระบบรากและการ เจริญตั้งตัวของต้นไม้ในช่วงแรกเป็นอย่างมาก ในการเตรียมหลุมปลูกควร ขุดหลุมให้ลึก แล้วใช้ปุ๋ยหมักผสมคลุกเคล้ากับดินที่ขุดจากหลุมในอัดราส่วน ดิน 2-3 ส่วน กับปุ๋ยหมัก 1 ส่วน ใส่กลับลงไปในหลุมเพื่อใช้ปลูกต้นไม้ ต่อไป
            การใส่ปุ๋ยหมักสำหรับไม้ผลที่เจริญเติบโตแล้วอาจทำโดยการพรวน ดินรอบๆ ต้น ห่างจากโคนต้นประมาณ 2-3 ฟุต ออกไปจนถึงนอกทรงพุ่มของ ต้นประมาณ 1 ฟุต พรวนดินให้ลึกประมาณ 2 นิ้ว โรยปุ๋ยหมักให้หนาประมาณ 1 นิ้ว หรือมากกว่า ใช้จอบผสมคลุกเคล้าให้เข้ากับดิน แล้วรดน้ำหรือจะใช้ วิธีขุดร่องรอบๆ ทรงพุ่มของต้นให้ลึกประมาณ 30-50 เซนติเมตร แล้วใส่ปุ๋ย หมักลงไปในร่องประมาณ 40-50 กิโลกรัมต่อต้น ใช้ดินกลบแล้วรดน้ำ ถ้าจะ ใส่ปุ๋ยเคมีด้วยก็ผสมปุ๋ยเคมีคลุกเคล้ากับปุ๋ยหมักให้ดีแล้วใส่ลงไปพร้อมกัน การใส่ปุ๋ยหมักตามวิธีดังกล่าวมานี้ เป็นการใส่ปีละครั้ง และเมื่อต้นไม้ มีขนาดโตขึ้นก็ควรเพิ่มปริมาณปุ๋ยหมักตามขนาดของต้นไม้ด้วย
การใส่ปุ๋ยหมักกับพืชไร่ หรือนาข้าว
            ในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ ปานกลาง แนะนำให้ใส่ปุ๋ยหมักในอัดราอย่างน้อยปีละ 1.5-2.5 ตันต่อไร่ หว่านให้ทั่วแปลงแล้วไถหรือคราดกลบก่อน การปลูกพืชในดินที่มีความอุดม- สมบูรณ์ต่ำหรือผืนดินเสื่อมโทรม อาจต้องใส่ปุ๋ยหมักในอัดราที่มากกว่านี้ เช่นปีละ 2-3 ตันต่อไร่ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสภาพของดินและปริมาณการผลิตปุ๋ยหมัก พื้นทื่ทื่ใช้ปลูกพืชไรเ หรือทำนาเป็นพื้นที่กว้าง ปริมาณปุ๋ยหมักที่ใสiลงไป ในแต่ละปีอาจไม่เพียงพอ ถ้าดินนั้นไมอุดมสมบูรณ์การปรับปรุงความอุดม- สมบูรณ์ของดินควรต้องใช้ร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมี หรือการจัดการดินวิธี อื่นๆ เช่น การใช้ปุ๋ยพืชสดเป็นต้น