วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2554

การทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ

การทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ

          ปุ๋ยน้ำชีวภาพ หรือที่เรียกว่าน้ำหมักจุลินทรีย์ ขยะหอม น้ำสกัดชีวภาพ หรือ EM (Effective Microorganisms) คือ สารละลายที่ได้จากการย่อยสลายเศษวัสดุเหลือใช้จากส่วนต่างๆของพืชหรือสัตว์ โดยการหมักในสภาพไร้อากาศ

          ปุ๋ยน้ำชีวภาพที่หมักจนได้ที่แล้วจะมีสีน้ำตาลเข้ม ซึ่งประกอบด้วยสารอาหาร ดังนี้
- ธาตุอาหารหลัก ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม
- ธาตุอาหารรอง ได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน
- ธาตุอาหารเสริม ได้แก่ เหล็ก ทองแดง แมงกานีส
          ปุ๋ยน้ำชีวภาพ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

- ปุ๋ยน้ำชีวภาพที่ผลิตจากพืชหรือขยะเปียก ได้แก่ เศษอาหาร เศษผัก เศษผลไม้รสเปรี้ยว เศษผลไม้สีแดงสีเหลือง พืชสมุนไพร
- ปุ๋ยน้ำชีวภาพที่ผลิตจากสัตว์ ได้แก่ ปลา หอยเชอรี่



ปุ๋ยน้ำชีวภาพ

[ดูภาพทั้งหมดในหมวด]

หัวข้อ
ประโยชน์ของปุ๋ยน้ำชีวภาพ
ประโยชน์ของปุ๋ยน้ำชีวภาพ
- ใช้เป็นหัวเชื้อในการทำปุ๋ยหมักอินทรีย์
- ใช้ในการกำจัดน้ำเสียและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
- ใช้ทำความสะอาดพื้นที่เลี้ยงสัตว์
- ใช้บำบัดกลิ่นเหม็นต่างๆ เช่น ห้องส้วม กองขยะ ท่อระบายน้ำ
- ใช้แทนปุ๋ยเคมี

ข้อควรระวังเกี่ยวกับปุ๋ยน้ำชีวภาพ
- การควบคุมปริมาณกากน้ำตาล เพื่อป้องกันการเกิดกลิ่นเหม็นระหว่างการหมัก
- การควบคุมการใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ โดยไม่ใช้ติดต่อกันหลายวันและ.ใช้ปริมาณที่เข้มข้นสูง



ปุ๋ยชีวภาพที่ผลิตจากพืชหรือขยะเปียก
ส่วนผสม
- เศษวัสดุเหลือใช้ 0.5 ถัง
- กากน้ำตาล 1 ลิตร
- น้ำหมักจุลินทรีย์ 1 ลิตร
- น้ำสะอาด 0.5 ถัง
อุปกรณ์
- ถังพลาสติกมีฝาปิดขนาด 20-40 ลิตร
- ถุงปุ๋ย
วิธีทำ
- เติมน้ำสะอาดลงในถังพลาสติก จากนั้นเติมกากน้ำตาลและหัวเชื้อจุลินทรีย์ ผสมให้เข้ากัน
- นำเศษวัสดุใส่ถุงปุ๋ย ผูกปากถุง แล้วนำไปแช่ให้จมเป็นเวลา 7 วัน โดยเก็บในที่ร่ม



ปุ๋ยน้ำชีวภาพที่ผลิตจากสัตว์
ส่วนผสม
- เศษวัสดุเหลือใช้ 0.5 ถัง
- กากน้ำตาล 1 ลิตร
- น้ำหมักจุลินทรีย์ 1 ลิตร
- น้ำสะอาด 0.5 ถัง
อุปกรณ์
- ถังพลาสติกมีฝาปิดขนาด 20-40 ลิตร
- ไม้สำหรับคน
วิธีทำ
- เติมส่วนผสมทั้งหมดลงในถังแล้วปิดฝา หมักไว้ในที่ร่ม เป็นเวลา 1-2 เดือน
- คนส่วนผสมอย่างสม่ำเสมอในระหว่างการหมัก เพื่อให้เกิดการย่อยสลายดีขึ้น




 
บทความพีเดีย อื่น ๆ  
 

บทความ ในหมวดพฤกษศาสตร์และการเกษตร หมวดความรู้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โรคพืชหลังการเก็บเกี่ยวและโรคที่เกิดกับเมล็ด (Post harvest disease and Seed pathology)
กระถิน
การขยายพันธุ์ลำไย โดยการทาบกิ่ง
การปลูกกาแฟ
การวินิจฉัยโรคพืช
กุหลาบ
เข็มชมพูไทย
ต้นตำลึง
น้ำผึ้ง
เศรษฐีไซ่ง่อน
คณิตศาสตร์และสถิติ
เคมี
ธรณีวิทยา
พฤกษศาสตร์และการเกษตร
แพทยศาสตร์
ฟิสิกส์
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
วิศวกรรมศาสตร์
สิ่งแวดล้อม
อุตสาหกรรม

ไม่มีความคิดเห็น: