วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2554

ปุ๋ยหมักคืออะไร





ปุ๋ยหมักคืออะไร
      ปุ๋ยหมักเป็นปุ๋ยธรรมชาติชนิดหนึ่งซึ่งได้จากเศษพืชต่าง ๆ เศษขยะมูลฝอยหลายชนิด อาจมีซากสัตว์และมูลสัตว์รวมอยู่ด้วย เมื่อนำมาผสมรวมกันโดยอาศัยกรรมวิธีหมักอย่างง่าย ๆ และใช้เวลาในระยะหนึ่ง เศษพืชเศษขยะเหล่านี้จะเปลี่ยนไป จากรูปเดิมอันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีของจุลินทรีย์ หลังจากนั้นก็สามารถนำเอาปุ๋ยหมักที่ได้ไปใช้ในการปรับปรุงบำรุงดิน
 

วิธีการใช้งาน
      มีประโยชน์ในแง่การปรับปรุงบำรุงดิน เพื่อช่วยให้พืชมีผลผลิต เพิ่ม ขึ้น วิธีการใช้ และอัตราการใช้มีดังนี้
     นาข้าว
     พืชไร่
     ไม้ผลไม้ยืนต้น
     พืชผัก
     ไม้ดอกไม้ประดับ
     ไม้กระถาง
     ปรับปรุงบำรุงดินเพื่อปลูกป่า
 

นาข้าว
      ใช้ปุ๋ยหมักที่ย่อยสลายอย่างดีแล้วปรับปรุงดินนาข้าวได้ผลดี แต่เหมาะสำหรับกสิกรที่มีนาจำนวนน้อยและหลังจากการทำนาแล้ว พื้นที่นั้นสามารถปลูกพืชหมุนเวียนอย่างอื่นได้ อัตราที่แนะนำให้ใช้ ประมาณ 1 - 3 ตันต่อไร่ต่อปี ใส่ขณะเตรียมดินโดยหว่านให้ทั่ว แปลงแล้วจึงทำการไถกลบลงไปอีกที และทิ้งไว้ประมาณ 7 - 15 วัน จึงทำการปลูกข้าว ถ้าต้องการให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ควรใส่ปุ๋ยเคมี สำหรับนาข้าวด้วย
 

      ปุ๋ยนาที่นิยมใช้คือ 16-20-0, 18-22-0, 20-20-0 หรือปุ๋ยที่มีปริมาณธาตุอาหารใกล้เคียงในอัตรา 15 - 30 กก. ต่อไร่ สำหรับดินนาภาคกลางและ ดินนาภาคเหนือ ซึ่งเป็นดินเหนียวและดินร่วน ส่วนดินภาค ตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นดิน ทรายร่วน หรือดินทรายแนะนำให้ใช้ปุ๋ย 16+16-8, 18-12-6 หรือปริมาณ ธาตุอาหารใกล้เคียง ในอัตรา 15-30 กก.ต่อไร่ เช่นเดียวกัน

พืชไร่
      แนะนำให้ใช้ปุ๋ยหมักอัตรา 1 - 3 ตันต่อไร่ต่อปี ถ้าจะใส่ ครั้งเดียว อัตรา 3 - 6 ตันต่อไร่ แล้วปลูกพืชติดต่อกันไปเป็น ระยะเวลา 2-3 ปี โดยหว่านให้ทั่วแปลงแล้วทำการไถคราดกลบ ทิ้งไว้ประมาณ 7-15 วัน จึงทำการปลูกพืชต่อไป ถ้าจะให้ผลดี ก็ควรใส่ปุ๋ยเคมีให้แก่พืชไร่เพื่มเติมลงไปด้วย เช่นปลูกข้าวโพด ในดินภาคกลางและดินภาคเหนือ ควรใช้ปุ๋ยเคมี 16-20-0, 18-22-0 หรือปริมาณธาตุอาหารใกล้เคียงในอัตรา 25-30 กก.ต่อไร่
 

      ถ้าเป็นดินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ควรใช้ปุ่ย 15-15-15, 16-16-8, 18-12-6 หรือปริมาณธาตุอาหาร ใกล้เคียง อัตรา 25-30 กก. ต่อไร่ ส่านพืชไร่ชนิดอื่น ๆ ให้พิจารณา ชนิดของดินและปริมาณอาหารพืช ที่พืชไร่แต่ละชนิดต้องการ

ไม้ผลไม้ยืนต้น
      ปุ๋ยหมักพบว่าเป็นปุ๋ยที่มีประโยชน์ต่อไม้ผลไม้ยืนต้นเป็นอย่างยิ่ง ใส่ปุ๋ยหมัก เฉพาะหลุมที่ปลูกเท่านั้น ไม่ใส่ทั้งแปลงเหมือนพืชไร่ ซึ่งสามารถให้ปุ๋ยหมักแก่ไม้ผล ไม้ยืนต้นได้หลายระยะและหลายวิธี กล่าวคือ ระยะแรก ระยะเตรียมหลุมปลูกควร คลุกเคล้าปุ๋ยหมักให้เข้ากับดินที่ใช้ปลูกเป็นอย่างดี อัตราหลุมละ 20 -40 กก.ต่อตัน ทั้งนี้แล้วแต่ชนิดและขนาดของหลุมและไม้ผลที่ปลูก ถ้าจะให้ผลดีให้คลุกเคล้ากับปุ๋ย เคมีเพิ่มเติมลงไปด้วย
 

      ในระยะเตรี่ยมหลุมนี้ โดยใช้ปุ่ย 15-15-15, 14-14-14, หรือ 12-12-17 อัตรา 100-200 กรัมต่อหลุม ในระยะต่อไป ให้ใช้ทุก ๆ 1 ปี เมื่อไม้ผลอายุมาก ให้ใส่รอบ ๆ ทรงพุ่ม โดยขุดร่องให้รอบแล้วเอาปุ๋ยหมัก และปุ๋ยเคมีคลุกให้เข้ากัน เป็นอย่างดี ใส่ลงไปในร่องรอบ ๆ พุ่ม แล้วเอาดินกลบร่องให้มิด ปริมาณทั้งปุ๋ยหมัก และปุ๋ยเคมีให้ใช้เพิ่มตามอายุของพืชที่ปลูก

พืชผัก
      ปุ๋ยหมักนับว่าเป็นปุ๋ยที่มีประโยชน์ต่อสวนผักเป็นอย่างยิ่งเช่นเดียวกัน เพราะว่าช่วยทำให้ ดินร่วนซุย พืชผักซึ่งเป็นพืชอายุสั้นและมีระยะรากสั้นแผ่ขยายออกด้านข้าง ถ้าปลูกใน ดินเหนียวจัด รากจะไม่สามารถ แผ่กระจายไปได้ไกล ถ้าปลูกในดินทรายซึ่งมีการอุ้มได้น้อย ปุ๋ยหมักจะช่วยแก้ไขสิ่งเหล่านี้ได้ ส่วนมาก ใช้ใส่ในอัตรา 1-3 ตันต่อไร่ โดยการหว่านให้ทั่วแปลง ขณะเตรียมดิน แล้วทิ้งไว้ประมาณ 7-15 วัน จึงจะทำการปลูกผัก แต่อย่างไรก็ดีควรเพิ่มเติม ปุ๋ยเคมี ลงไปด้วย จะช่วยให้พืชผักเจริญงอกงามดี ปุ๋ยเคมีที่นิยมใช้ คือ 15-15-15, 13-13-21, 16-20-0 อัตรา 15-30 กก.ต่อไร่ ถ้าเป็นผักกินใบ จะเพิ่มปุ๋ย ไนโครเจน ลงไปด้วยก็ยิ่งดี

ไม้ดอกไม้ประดับ
      ตลอดจนสนามหญ้าทุกชนิดส่วนมากใช้ใส่ในอัตรา 1-3 ตัน ต่อไร่ โดยใส่ระยะเตรียมดิน หรือหลังปลูกพืชแล้วทำการพรวนคลุกเคล้าให้ เข้ากับดินที่ปลูกก็ใช้ได้
ไม้กระถาง
      ใช้อัตราส่วนระหว่างดิน : ปุ๋ยหมัก : ทราย = 4:3:3 โดยปริมาตร
 

ปรับปรุงบำรุงดินเพื่อปลูกป่า
      7.1 การเพาะชำกล้าไม้       ในกรณีของไม้เบญจพรรณ เช่น มะค่า พะยูง ประดู่ กระพี้เขาควาย ฯลฯ ซึ่งเพาะในภาชนะ บรรจุ ที่มีปุ๋ยหมักเป็นส่วนผสมของวัสดุเพาะชำ อัตราส่วนของวัสดุเพาะชำมีดังนี้ คือ ดิน : ทราย : ขี้เถ้าแกลบ : ปุ๋ยหมัก = 5 : 2 : 1 : 1 โดยปริมาตร คลุกเคล้าส่วนผสม ให้เข้ากันอย่างทั่วถึง ก่อนที่จะบรรจุลงในภาชนะ แล้วนำเมล็ดพันธ์ไม้หยอดลงไป และกดลงให้ลึกประมาณ 1 นิ้ง จากผิวบนของวัสดุเพาะชำ แล้วจึงกลบ เมล็ดฯ ด้วยวัสดุเพาะชำบาง ๆ       สำหรับการเพาะชำกล้าไม้โตเร็ว เช่น ยูคาลิปตัส กระถินยักษ์เลี่ยน กระถินณรงค์ สะเดา ขี้เหล็ก ฯลฯ ใช้วัสดุเพาะชำที่มี ดิน : ทราย : ขี้เถ้าแกลบ : ปุ๋ยหมัก ในอัตราส่วน 1 : 1 : 1 : 3 โดยปริมาณและปฏิบัติ เช่นเดียวกับการเพาะกล้าไม้เบญจพรรณ
      7.2 การปลูกไม้โตเร็ว ติเมตร แล้วจึงนำกล้าไม้ปลูกและใช้ดินกลบ
      โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพดินของแปลงปลูกซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ลักษณะดิน เป็นดินทราย ไม่สามารถอุ้มน้ำไว้ได้และต้องแก่งแย่งอาหารกับวัชพืชที่ขึ้นอยู่บริเวณดังกล่าว ดังนั้นการปรับปรุงดิน เฉพาะจุดด้วยการใช้ปุ๋ยหมักในหลุมปลูก โดยขุดหลุมปลูก ขนาด 20*20*20 เซนติเมตร แล้วนำปุ๋ยหมัก ประมาณ 2 กิโลกรัม รองก้นหลุม หลังจากนั้น ใช้ดินกลบชั้นของปุ๋ยหมักให้หนา ประมาณ 2.5 เซน

ประโยชน์ของปุ๋ยหมัก
     การปรับปรุงบำรุงดิน
     ปรับสภาพสิ่งแวดล้อม
     ในทางเศรษฐกิจ
 

การปรับปรุงบำรุงดิน
      1. ช่วยเพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุ ให้แก่ดินโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ดินทราย ดินที่หน้าดินถูกฉะล้าง และดินชั้นล่างที่นำมาใช้ในการ เพาะปลูก
      2. ช่วยเพิ่มปริมาณแร่ธาตุอาหารพืชที่สำคัญทั้งธาตุอาหารพืช หลัก ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริม
      3. ช่วยรักษาความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินอยู่ตลอดกาล โดยที่ธาตุ อาหารพืชชนิดต่าง ๆ ค่อย ๆ ละลายออกมาเป็น ประโยชน์ต่อพืช ช่วยให้ดินมีประสิทธิภาพในการเพิ่มผลผลิต
 

      4.ช่วยรักษาปฏิกิริยาของดินไม่ให้เปลี่ยนแปลงได้ง่าย โดยเฉพาะปุ๋ยหมัก จะมีปฏิกิริยา เป็นกรดอ่อน ๆ ซึ่งพืชโดยทั่วไปต้องการ
      5.ช่วยให้ดินเหนียวซึ่งแน่นทึบมีความร่วนซุยและดินทราย มีการจับตัวกันดียิ่งขึ้น
      6.ช่วยให้ดินมีความสามารถในการอุ้มน้ำได้ดียิ่งขึ้น เพราะปุ๋ยหมักมีคุณสมบัติคล้าย กระดาษซับ ที่คอยซับน้ำและธาตุอาหารไว้ให้พืชใช้
      7.ช่วยป้องกันมิให้ดินสูญเสียหรือถูกชะล้างไปได้ง่ายเพราะปุ๋ยหมักช่วยซับน้ำและ ทำให้เม็ดดิน เกาะกันดียิ่งขึ้น
      8.ช่วยให้เกิดความสะดวกในการไถพรวนและการเตรียมดินโดยทั่วไป
      9.ช่วยเพิ่มกิจกรรมและปริมาณจุลินทรีย์ในดิน ซึ่งทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินเพิ่มขึ้น

ปรับสภาพสิ่งแวดล้อม
      1. ช่วยกำจัดขยะมูลฝอย ทำให้บริเวณสะอาด ถูกลักษณะ อนามัย
      2. ช่วยลดอุบัติเหตุได้ การทำลายเศษพืช โดยการนำไปเผาตอ ซังข้าว หรือเศษหญ้าข้างถนน เป็นวิธีไม่ถูกต้องทำให้เกิดรถชน จราจรติดขัด เกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินและก่อให้เกิด อากาศเป็นพิษ ถ้านำเศษพืชเหล่านั้นมาทำเป็นปุ๋ยหมัก ก็จะช่วย แก้ปัญหาเหล่านี้ได้
 

      3. เป็นการกำจัดวัชพืชน้ำทั้งหลายให้หมดไป ทำให้สัตว์น้ำ ได้รับแสงแดด เต็มที่ และเจริญเติบโตขึ้น

ในทางเศรษฐกิจ
      1. ช่วยประหยัดและลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีที่มีราคาแพง เป็นการลดต้นทุนการผลิต
      2. ช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ทำให้เกษตรกร มีราย ได้เพิ่มขึ้น
      3. เป็นตัวสร้างอาหารปลาขึ้นมาอีกชนิดหนึ่ง นับว่า เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจในทางการประมงด้วย
 




[ หน้าแรก ] [ คำแนะนำเรื่องดิน ] [ คำแนะนำเรื่องพืช ]


[ ดินและการพัฒนา ] [ วิธีเก็บตัวอย่างดิน ] [ ใช้ปุ๋ยหมักอย่างไร ] [ การผลิตปุ๋ยหมัก โดยสารเร่ง พด.-1 ]
[ ใช้ปุ๋ยพืชสดเพื่อปรับปรุงดิน ] [ การจัดการดิน เหมืองแร่ร้าง ] [ ปรับปรุงดินเค็ม ]
[ การใช้หญ้าแฝกเพื่อรักษาความชุ่มชื้น ] [ ตารางปลูกพืชทนเค็ม ]

[ ถั่วพุ่ม พืชทำเงิน เสริมรายได้หน้าแล้ง ]
[ การไถกลบตอซัง ]

ไม่มีความคิดเห็น: