วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2554

ปุ๋ยหมัก

ปุ๋ยหมัก
            ปุ๋ยหมัก เป็นสิ่งที่มีคุณค่ามากในทางการเกษตร แต่ก็ยังไม่ได้รับความสนใจหรือแพร่หลายเท่าที่ควร อาจจะเป็นเพราะสาเหตุหลายประการด้วยกัน เช่น เกษตรกรยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญที่แท้จริงของปุ๋ยหมักว่ามีคุณค่าเพียงใด ในการช่วยปรับปรุงดินให้ดีขึ้น หรือช่วยรักษาสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดินให้ดีอยู่เสมอ ไม่เสื่อมโทรมลงเรื่อยๆ อย่างเช่นปัจจุบันนี้ เหตุผลสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ เกษตรกรยังขาดแหล่งข้อมูลที่จะให้ความรู้ความเข้าใจในการทำปุ๋ยหมักอย่างถูก วิธี เป็นเหตุให้การทำปุ๋ยหมักก็ต้องใช้ในปริมาณมาก และมักไม่เห็นผลอย่างชัดเจนในระยะเวลาอันสั้น
            การทำปุ๋ยหมักไว้ใช้เองก็ต้องใช้แรงงานค่อนข้างมาก ต้องดูแลเอาใจใส่อยู่เสมอ การผลิตปุ๋ยหมักจึงจะได้ผลอย่างเต็มที่ การที่เกษตรกรจะผลิตปุ๋ยหมักขึ้นมาใช้กันอย่างจริงๆจังๆ จึงต้องอาศัยทั้งความรู้ ความเข้าใจในการทำปุ๋ยหมัก ต้องเข้าใจในคุณประโยชน์ที่แท้จริงของปุ๋ยหมัก และจะต้องมีความมุ่งมั่น ความตั้งใจจริงที่จะปรับปรุงที่ดินของตนให้เป็นผืนดินที่อุดมสมบูรณ์ มีประสิทธิภาพในการเพาะปลูก
            หวังว่าข้อมูลนี้ จะช่วยให้เกษตรกรและผู้สนใจ ได้รับความรู้ ความเข้าใจ สามารถทำ และใช้ปุ๋ยหมักได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ เพื่อประโยชน์ต่อการปรับปรุง และพัฒนาที่ดินของตนต่อไป
 การทำปุ๋ยหมัก
             คือ การนำเอาเศษซาก หรือวัสดุต่างๆ ที่ได้มาจากสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกที่ได้มาจากพืช เช่น เศษหญ้า ใบไม้ ฟางข้าว ผักตบชวา หรือแม้แต่ขยะมูลฝอยตามบ้านเรือนมากองรวมกัน รดน้ำให้มีความชื้นพอเหมาะ หมักไว้จนกระทั่งเศษพืช หรือวัสดุเหล่านั้นย่อยสลายและแปรสภาพไป กลายเป็นขุยสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม มีลักษณะพรุน ยุ่ย ร่วนซุย ที่เรียกว่า "ปุ๋ยหมัก" การย่อยและการแปรสภาพของเศษพืชหรือ วัสดุดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจากสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กๆ ที่เรียกว่า "จุลินทรีย์" ซึ่งอาศัยอยู่ในกองปุ๋ยสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กเหล่านี้มีอยู่ มากมายหลายชนิดปะปนกันอยู่ และพวกที่มีบทบาทในการแปรสภาพวัสดุมากที่สุดได้แก่ เชื้อรา และเชื้อบักเตรี
             วิธีการหมักวัสดุต่างๆ ให้กลายเป็นปุ๋ยหมัก อาจทำใด้หลายๆ วิธี แตกต่างกันไป เช่น การหมักเศษพืชแต่เพียงอย่างเดียว หรือมีการเติมมูลสัตว์หรือปุ๋ยเคมีลงไปในกองปุ๋ยด้วย เพื่อเร่งให้เศษวัสดุแปรสภาพได้เร็วขึ้น การใส่ผงเชื้อจุลินทรีย์เพิ่มเติมลงไปกองปุ๋ย เพื่อเสริมเชื้อจุลินทรีย์ที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติ หรือการมีรูปแบบของการกองปุ๋ยแตกต่างกันไป ซึ่งแต่ละวิธีอาจใช้ระยะเวลาในการหมักไม่เท่ากัน และปุ๋ยหมักที่ได้ก็มีคุณภาพแตกต่างกันไป


 ประโยชน์ของปุ๋ยหมัก
             ปุ๋ยหมักที่สลายตัวได้ที่ดีแล้ว เป็นวัสดุที่ค่อนข้างทนทานต่อการย่อยสลายพอสมควร ดังนั้น เมื่อใส่ลงไปในดิน ปุ๋ยหมักจึงสลายตัวได้ช้า ไม่รวดเร็ว เหมือนกับการไถกลบเศษพืชโดยตรง ซึ่งก็นับว่าเป็นลักษณะที่ดีอย่างหนึ่งของปุ๋ยหมัก เพราะทำให้ปุ๋ยหมักสามารถปรับปรุงดินให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมต่อ การเจริญเติบโตของพืชได้เป็นระยะเวลานานๆ ปุ๋ยหมักบางส่วนจะคงทนอยู่ในดินได้นานเป็นปี แต่ก็มีบางส่วนที่ ถูกย่อยสลายไป ในการย่อยสลายนี้จะมีแร่ธาตุอาหารพืชถูกปลดปล่อยออกมาจากปุ๋ยหมักให้พืชได้ ไช้อยู่เรื่อยๆ แม้ว่าจะเป็นปริมาณที่ไม่มากนัก แต่ก็ถูกปลดปล่อย ออกมาตลอดเวลาและสม่ำเสมอ
 คุณประโยชน์ของปุ๋ยหมักอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ
  1. ช่วยปรับปรุงสมบัติต่างๆ ของดินให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช
    ปุ๋ยหมักเป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติในการปรับปรุงสภาพ หรือลักษณะของดินให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช เซ่น ถ้าดินนั้นเป็นดินเนื้อละเอียดอัดตัวกันแน่น เช่น ดินเหนียว ปุ๋ยหมักก็จะช่วยทำให้ดินนั้นมีสภาพร่วนซุยมากขึ้น ไม่อัดตัวกันแน่นทึบ ทำให้ดินมีสภาพการระบายน้ำ ระบายอากาศดีขื้น ทั้งยังช่วยให้ดินมีความสามารถในการอุ้มน้ำ หรือดูดซับน้ำที่จะเป็นประโยชน์ต่อพืชไว้ได้มากขึ้น คุณสมบัติในข้อนี้เป็นคุณสมบัดิที่สำคัญมากของปุ๋ยหมัก เพราะที่ดินที่มีลักษณะร่วนซุย ระบายน้ำ ระบายอากาศได้ดีนั้น จะทำให้รากพืชเจริญเติบโตได้รวดเร็ว แข็งแรง แตกแขนงได้มาก มีระบบรากที่สมบูรณ์ จึงดูดซับแร่ธาตุอาหารหรือน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    ส่วนในกรณีที่ดินเป็นดินเนี้อหยาบ เช่นดินทราย ดินร่วนปนทราย ซึ่งส่วนใหญ่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ มีอินทรีย์วัตถุอยู่น้อย ไม่อุ้มน้ำ การใส่ปุ๋ยหมัก ก็จะช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน และทำให้ดินเหล่านั้นสามารถอุ้มน้ำ หรือดูดซับความชื้นไว้ให้พืชได้มากขึ้น ในดินเนื้อหยาบจึงควรต้องใส่ปุ๋ยหมักให้มากกว่าปกติ

    นอกจากคุณสมบัติต่างๆ ดังกล่าวมาแล้ว ปุ๋ยหมักยังสามารถช่วยปรับปรุงลักษณะดินในแง่อื่นๆ อีก เช่น ช่วยลดการจับตัวเป็นแผ่นแข็งของหน้าดิน ทำให้การงอกของเมล็ด หรือการซึมของน้ำลงไปในดินสะดวกขึ้น ช่วยลดการไหลบ่าของน้ำเวลาฝนตก เป็นการลดการพัดพาหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์ไป เป็นต้น

  2. ช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน
    ในแง่ของการช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ปุ๋ยหมักเป็นแหล่งแร่ธาตุอาหารที่จะปลดปล่อยธาตุอาหาร ออกมาให้แก่ต้นพืชอย่างช้าๆ และสม่ำเสมอ โดยทั่วไปแล้ว ปุ๋ยหมักจะมีปริมาณแร่ธาตุอาหารพืชที่สำคัญดังนี้ คือ ธาตุไนโตรเจนทั้งหมดประมาณ 0.4-2.5 เปอร์เซนต์ ฟอสฟอรัสในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ประมาณ 0.2-2.5 เปอร์เซนต์ และโพแทสเซียมในรูปที่ละลายน้ำได้ประมาณ 0.5-1.8 เปอร์เซนต์ ปริมาณแร่ธาตุอาหารดังกล่าวจะมีมาก หรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับชนิดของเศษพืชที่นำมาหมัก และวัสดุอื่นๆ ที่ใส่ลงไปในกองปุ๋ย

    ถึงแม้ปุ๋ยหมักจะมีธาตุอาหารหลักดังกล่าวอยู่น้อยกว่าปุ๋ยเคมี แต่ปุ๋ยหมักมีข้อดีกว่าตรงที่นอกจากธาตุอาหารทั้ง 3 ธาตุที่กล่าวมาแล้ว ปุ๋ยหมักยังมีธาตุอาหารพืชชนิดอื่นๆ อีกเซ่น แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน เหล็ก สังกะสี แมงกานีส โบรอน ทองแดง โมลิบดีนัม ฯลฯ ซึ่งปกติแล้วปุ๋ยเคมีจะโม่มี หรือมีเพียงบางธาตุเท่านั้น แร่ธาตุเหล่านี้มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช โม่น้อยกว่าธาตุอาหารหลัก เพียงแด่ต้นพืชต้องการในปริมาณน้อยเท่านั้นเอง

    นอกจากจะช่วยเพิ่มปริมาณธาตุอาหารพืชแล้ว ปุ๋ยหมักยังมีคุณค่าใน แง่ของการปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์อีกหลายๆ อย่างเช่น ช่วยทำให้แร่ธาตุอาหาร พืชทื่มีอยู่ในดินแปรสภาพมาอยู่ในรูปที่พืชสามารถดูดซึมไปใช้ได้ง่ายขึ้น ช่วยดูดซับแร่ธาตุอาหารพืชเอาไว้ไม่ให้ถูกน้ำฝนหรือน้ำชลประทานชะล้าง สูญหายไปได้ง่าย เป็นการช่วยถนอมรักษาแร่ธาตุอาหาร หรือความอุดมสมบูรณ์ ของดินไว้อีกทางหนึ่งเป็นต้น จากคุณสมบัดิ ดังที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า แม้ปุ๋ยหมัก จะมีปริมาณแร่ธาตุอาหารในปุ๋ยไม่เข้มขันเหมือนปุ๋ยเคมี แด่ก็มีลักษณะ อื่นๆ ที่ช่วยรักษา และปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินได้เป็นอย่างดี
 วิธีการใช้ปุ๋ยหมัก
             การใช้ปุ๋ยหมัก มีวัตถุประสงค์หลักก็เพื่อปรับปรุงสภาพของดินให้ เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช ถ้าจะให้ผลดีควรต้องใส่ในปริมาณที่มาก เพียงพอและใส่อย่างสม่ำเสมอทุกปี ในเนื้อของปุ๋ยหมักแม้ว่าจะมีธาตุอาหารพืช อยู่แต่ก็มีไม่มากเหมือนกับปุ๋ยเคมี ดังนั้นถ้าต้องการปรับปรุงความอุดม สมบูรณ์ของดิน โดยการเพิ่มเติมธาตุอาหารพืชลงไป จึงควรใส่ปุ๋ยเคมีร่วมไปกับ การใส่ปุ๋ยหมักด้วยจะให้ผลดีที่สุด ทั้งนี้ปุ๋ยหมักไม่เพียงแด่จะปลดปล่อยธาตุอาหาร ออกมาจำนวนหนึ่งเท่านั้น ยังมีบทบาทสำคัญช่วยให้การใช้ปุ๋ยเคมีเป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพ
             อัตราการใส่ปุ๋ยหมักในดินแด่ละแห่งก็แตกต่างกันไป แล้วแด่สภาพ ของดินและชนิดของพืชที่ปลูก ถ้าดินเป็นดินที่เสื่อมโทรม มีความอุดมสมบูรณ์ ต่ำ หรือดินที่มีเนื้อดินเป็นดินทรายจัด ก็ควรต้องใส่ปุ๋ยหมักให้มากกว่าปกติ ปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วจัดเป็นปุ๋ยที่สามารถใส่ให้กับพืชในปริมาณมากๆ ได้ไดยไม่เกิดอันตราย ดังนั้นถ้าผลิตปุ๋ยหมักได้มากพอแล้ว เราสามารถใส่ลงไป ในดินให้มากเท่าที่ต้องการได้ แด่ก็ไม่ควรใส่มากเกินอัตราปีละ 20 ตันต่อไร่ เพราะอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อดินได้

การใช้ปุ๋ยหมักกับพืชผัก
            พืชผักส่วนใหญ่เป็นพืชที่มีระบบราก แบบรากฝอย รากสั้นอยู่ตื้นๆ ใกล้ผิวดิน การใส่ปุ๋ยหมักจะมีประโยชน์มาก เพราะช่วยให้ดินร่วนซุยขึ้น ทำให้รากของพืชผักเจริญเติบโตได้รวดเร็ว แตกแขนงแพร่กระจายไปได้มาก มีระบบรากที่สมบูรณ์ ทำให้สามารถดูดซับ แร่ธาตุอาหารได้รวดเร็ว ทนต่อการแห้งแล้งได้ดีขึ้น วิธีการใส่ปุ๋ยหมักใน แปลงผักอาจใช้วิธีโรยปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้ว คลุมแปลงให้หนาประมาณ 1-3 นิ้ว ใช้จอบสับผสมคลุกเคล้าลงไปในดินให้ลึกประมาณ 4 นิ้ว หรือลึกกว่า นี้ ถ้าเป็นพืชที่ลงหัว พืชผักเป็นพืชที่มีการเจริญเติบโตรวดเร็ว ต้องการแร่ธาตุอาหารจาก ดินเป็นปริมาณมาก ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ถ้าจะให้ผลผลิตที่ดีควรใส่ปุ๋ยเคมี ร่วมไปกับการใส่ปุ๋ยหมักด้วย
การใช้ปุ๋ยหมักกับไม้ผลหรือไม้ยืนต้น
            ไม้ผลหรือไม้ยืนต้นเป็น พวกที่มีระบบรากลึก การเตรียมดินในหลุมปลูกให้ดีจะมีผลต่อระบบรากและการ เจริญตั้งตัวของต้นไม้ในช่วงแรกเป็นอย่างมาก ในการเตรียมหลุมปลูกควร ขุดหลุมให้ลึก แล้วใช้ปุ๋ยหมักผสมคลุกเคล้ากับดินที่ขุดจากหลุมในอัดราส่วน ดิน 2-3 ส่วน กับปุ๋ยหมัก 1 ส่วน ใส่กลับลงไปในหลุมเพื่อใช้ปลูกต้นไม้ ต่อไป
            การใส่ปุ๋ยหมักสำหรับไม้ผลที่เจริญเติบโตแล้วอาจทำโดยการพรวน ดินรอบๆ ต้น ห่างจากโคนต้นประมาณ 2-3 ฟุต ออกไปจนถึงนอกทรงพุ่มของ ต้นประมาณ 1 ฟุต พรวนดินให้ลึกประมาณ 2 นิ้ว โรยปุ๋ยหมักให้หนาประมาณ 1 นิ้ว หรือมากกว่า ใช้จอบผสมคลุกเคล้าให้เข้ากับดิน แล้วรดน้ำหรือจะใช้ วิธีขุดร่องรอบๆ ทรงพุ่มของต้นให้ลึกประมาณ 30-50 เซนติเมตร แล้วใส่ปุ๋ย หมักลงไปในร่องประมาณ 40-50 กิโลกรัมต่อต้น ใช้ดินกลบแล้วรดน้ำ ถ้าจะ ใส่ปุ๋ยเคมีด้วยก็ผสมปุ๋ยเคมีคลุกเคล้ากับปุ๋ยหมักให้ดีแล้วใส่ลงไปพร้อมกัน การใส่ปุ๋ยหมักตามวิธีดังกล่าวมานี้ เป็นการใส่ปีละครั้ง และเมื่อต้นไม้ มีขนาดโตขึ้นก็ควรเพิ่มปริมาณปุ๋ยหมักตามขนาดของต้นไม้ด้วย
การใส่ปุ๋ยหมักกับพืชไร่ หรือนาข้าว
            ในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ ปานกลาง แนะนำให้ใส่ปุ๋ยหมักในอัดราอย่างน้อยปีละ 1.5-2.5 ตันต่อไร่ หว่านให้ทั่วแปลงแล้วไถหรือคราดกลบก่อน การปลูกพืชในดินที่มีความอุดม- สมบูรณ์ต่ำหรือผืนดินเสื่อมโทรม อาจต้องใส่ปุ๋ยหมักในอัดราที่มากกว่านี้ เช่นปีละ 2-3 ตันต่อไร่ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสภาพของดินและปริมาณการผลิตปุ๋ยหมัก พื้นทื่ทื่ใช้ปลูกพืชไรเ หรือทำนาเป็นพื้นที่กว้าง ปริมาณปุ๋ยหมักที่ใสiลงไป ในแต่ละปีอาจไม่เพียงพอ ถ้าดินนั้นไมอุดมสมบูรณ์การปรับปรุงความอุดม- สมบูรณ์ของดินควรต้องใช้ร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมี หรือการจัดการดินวิธี อื่นๆ เช่น การใช้ปุ๋ยพืชสดเป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น: